ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เป็นคำที่ใช้เรียกทั่วไป รวมทั้งหัวใจเต้นเร็วไป เต้นช้าไป เต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเป็นร่วมกันทั้งหมด

ส่วน sinus tachycardia พบได้บ่อยและมักเกิดจากการกระตุ้นระบบสรีรวิทยา เช่น มีไข้ โลหิตจาง ช็อก ภาวะนี้เกิดขึ้นจาก sinus node สนองตอบต่อการกระตุ้น (โดยตัวกระตุ้นหรือโดยยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบซิมพาเทติก) ด้วยการปล่อยไฟฟ้าในอัตราที่เร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาใดๆ รักษาภาวะนี้ การรักษามุ่งไปที่การค้นหาสาเหตุและขจัดสาเหตุ

 

ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) แบ่งได้ตามจุดกำเนิดในหัวใจได้ 2 ชนิด คือ

  • Supraventricular Tachycardia (SVT) เกิดในหัวใจห้องบน 
  • Ventricular Tachycardia (VT) เกิดในหัวใจห้องล่าง


Supraventricular Tachycardia (SVT)

Reentry SVT เป็น tachycardia แบบสม่ำเสมอที่เกิดจากวงจรผิดปกติทำให้คลื่น depolarization วิ่งวนเป็นวงกลมซ้ำแล้วซ้ำอีก (reentry) บางครั้งเป็นๆหยุดๆ จึงมีชื่อเก่าเรียกกันว่า paroxysmal supraventricular tachycardia (PSVT) อัตราเร็วของการเต้นจะสูงเกินอัตราของ sinus tachycardia ในขณะพัก (เกิน120 ครั้งต่อนาที) โดยอาจมีหรือไม่มี P wave ให้เห็นก็ได้ จะถือว่า reentry SVT เป็น tachycardia ที่มีจุดกำเนิดอยู่ระดับ supraventricular ถ้ามี QRS complex แคบ (

 

Ventricular Tachycardia (VT)

เกิดในหัวใจห้องล่างซึ่งเป็นห้องใหญ่ที่บีบส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อเกิด VT ทำให้หัวใจขาดประสิทธิภาพ และรุนแรงกว่า SVT

อาการของ Ventricular Tachycardia

อาการของ VT รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิต ขณะที่ SVT ไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิตแต่ก่อปัญหาทางอารมณ์และร่างกายเมื่อเป็นบ่อยๆ และเป็นนาน ผู้ป่วย Tachycardia อาจไม่มีอาการหรือมีอาการเหล่านี้ได้ เช่น

  1. เจ็บหน้าอก
  2. อาการใจสั่น (Palpitation)
  3. เป็นลมหมดสติ (Syncope)
  4. หัวใจหยุดทำงาน (Cardiac arrest)

สาเหตุของการเกิด VT

VT อาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เช่น เกิดก่อนหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อห้วใจ โรคลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เกิดความผิดปกติทางกรรมพันธ์ โรคเลือด หรือจากยาบางชนิด SVT มักเกิดจากความวิตกกังวล อ่อนล้า ดื่มกาแฟ เหล้า สูบบุหรี่มากไป มักเป็นร่วมกับหัวใจวาย โรคลิ้นหัวใจ สามารถวินิจฉัยหาสาเหตุได้โดยการตรวจสรีระไฟฟ้าหัวใจ

 

การรักษา VT

สามารถรักษาได้โดยการใช้สายสวนชนิดพิเศษจี้จุดกำเนิดความผิดปกติในหัวใจด้วยพลังงานวิทยุ (Catheter ablation) โดยไม่ต้องผ่าตัด

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) มักได้รับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (Implantable Cardioverter defibrillator, ICD) เพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นเร็วมากให้กลับคืนสู่ปกติและป้องกันการตายกะทันหันด้วยโรคหัวใจ (Sudden Cardiac Death) โดยแพทย์อาจให้ยาร่วมกับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ เพื่อรักษาภาวะ Tachycardia

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


KruBe842

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญสัมพันธ์


http://www.pattayatech.ac.th