การติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไดรเวอร์ และโปรแกรมประยุกต์

สอนการลง Windows 7 ละเอียดทุกขั้นตอน

หลายคนยังไม่เคยทำการลง Windows มาก่อน แต่วันนี้จะต้องมาลง Windows 7 เอง โดยหลังจากที่คุณได้อ่านบทความที่ผมเขียนเรียบร้อย คุณก็สามารถทำการลง Windows 7 หรือทำการติดตั้ง Windows 7 เองได้สบายๆ โดยไม่ต้องไม่เพิ่งช่างคอมพิวเตอร์ และประหยัดเงินของเราด้วย ซึ่งการลง Windows 7 นั้นลงไม่ยากเลยครับ สำหรับคนไหนที่เคยทำการลง Windows XP มาก่อน ในการลง Windows 7 , Windows 8.1 หรือแม้กระทั่งลง Windows 10 ก็จะสามารถทำได้ทุก Windows เพราะขั้นตอนในการลง Windows นั้นจะคล้ายๆกัน สำหรับแผ่น Windows สามารถหาซื้อได้ตามห้างดังๆอาทิเช่น ฟอร์จูน หรือ เซียร์รังสิตในการซื้อ Windows 

สำหรับการลง Windows นั้นสามารถทำได้ 2 แบบ นั้นก็คือ การลง Windows โดยใช้แผ่น DVD หรือ การลง Windows แบบ USB (คอมพิวเตอร์ใหม่ๆสามารถทำการ Boot USB ได้หมดแล้ว )

ความแตกต่างระหว่าง Windows X86 กับ Windows X64 : ความรู้ความแตกต่างของ Windows 64 bit / Windows 32 Bit

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนการลง Windows 7

1. คอมพิวเตอร์ PC / Notebook / Laptop

2. แผ่น DVD Windows 7 หรือ USB Boot Windows 7

3. Driver ต่างๆของคอมพิวเตอร์ของเรา เช่น Driver VGA , Wireless , LAN   ทำการหาดาวน์โหลดเก็บไว้ก่อนการลง Windows โดยให้ดาวน์โหลดให้ตรงกับรุ่นคอมพิวเตอร์ของเรา

4. Harddisk ที่มีขนาดมากกว่า 20 GB

5. RAM มากกว่า 2 GB ปกติเดี๋ยวนี้ใช้กัน ก็มี 4 GB / 8 GB หรือ 16 GB

6. ไฟล์ Windows 7 : ดาวน์โหลด Windows 7

สำหรับใครที่จะทำการลง Windows 7 แบบ USB ให้ทำตามนี้ครับ : วิธีการลง Windows 7 USB



สอนการติดตั้ง Windows 7

1. ทำการตั้งค่า BIOS ของ คอมพิวเตอร์ของเรา โดยทำการเปิดคอมพิวเตอร์ > จากนั้นกด ปุ่ม “Delete” บน keyboard เพื่อเข้าในหน้า Bios > จากนั้นตั้งให้ Boot จาก DVD เป็นอันดับแรก > จากนั้นทำการบันทึกค่าที่เราเปลี่ยน จากนั้นคอมพิวเตอร์จะ Restart

หมายเหตุ : สำหรับ Notebook บางรุ่นอาจจะให้กด F2 , F10 แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ

วิธีการเข้า BIOS : การเข้าไบออสคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่น

Note : แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / PC ส่วนมากจะกด F12 , F10 (กดย้ำๆเลยนะครับ) เผื่อทำการเลือกเลยว่าเราจะ Boot จากอะไรในตอนเปิดคอมพิวเตอร์ โดยให้เลือกจาก DVD / USB ตามที่เราต้องการที่จะติดตั้ง Windows 7

Tab : Boot  “ภาพด้านล่างเป็นการปรับ BIOS โดยถ้าต้องการให้ ให้ Boot USB ก็ให้ทำการเลื่อน USB ขึ้นมาบนสุด แต่ถ้าจะให้ CD/DVD Boot ก็ให้เลื่อนให้ขึ้นมาบนสุด โดยการกด +/- ในการ เลื่อนขึ้นลง ”

SET BIOS COMPUTER

สำหรับ Windows 7 แนะนำให้ปรับ Mode SATA Operation : ให้เป็น AHCI 

AHCI (Advanced Host Controller Interface ) this is a hardware mechanism that allows the software to communicate with Serial ATA (SATA) devices.

โดย AHCI เป็น ฮาร์ดแวร์ที่ควบคุมกลไกการทำงาน ระหว่างซอฟต์แวร์กับ SATA

AHCI Mode HDD

2. จากนั้นจะขึ้นข้อความ Press any key to boot cd or dvd ….   ให้ทำการกด Enter 1ครั้ง  หรือรัวๆเลยก็ได้แล้วแต่ครับ

3. เริ่มเข้า Starting Windows

install Windows 7

3. เข้าสู่หน้า Windows 7 Setup

Language to install : เลือก English

Time and Currency format : เบิอก English (United States)

Keyboard or input method  : เลือก US

install Windows 7 Setup

 

4. ทำการกด Install Now

install Windows 7 install

 

5. เลือก I accept the license terms > กด Next

install Windows 7 Setup license

 

6. ทำการเลือก Custom (advance) ในการติดตั้ง

install Windows 7 custom

 

7. ในขั้นตอนตรงนี้มี 2 กรณี ให้้เลือกตามที่ผมกำลังจะอธิบายนะ

Advertisements

7.1 กรณีแรก : กรณีเพิ่งซื้อคอมพิวเตอร์มาใหม่ และยังไม่เคยลง Windows แปลว่า Harddisk ยังไม่ได้ใช้แลยังไม่ได้แบ่ง Partition 

7.1.1 .ทำการเลือก DISK ที่เรามีโดยเอาเมาส์คลิกซ้ายเลือก และจะเห็นเมนูให้ทำการกด Drive option (advanced)

install Windows 7 drive option advance

7.1.2 ทำการกด New >

Size ให้ทำการใส่จำนวน Harddisk Drive C ที่เราอยากได้ เช่น 100 GB ก็ให้เอา 1024 คูณไป ก็จะได้ 102400 MB (ผมแนะนำให้ Drive C = 100 GB)  ส่วนที่เหลือก็ให้ทำการคลิก New อีกครั้งแล้วก็แบ่งให้หมดจะได้เป็น Drive D

install Windows 7 new disk

 

7.1.3  ให้ทำการเลือก Drive ที่เราแบ่งไว้ที่จะเป็น Drive : C โดยทำการคลิกบน Drive นั้นๆ และทำการกด Next

หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System / System Reserved

install Windows 7 install windows

 

7.2 กรณีสอง : กรณีลง Windows มาแล้ว แต่อยากทำการลง Windows 7 ใหม่

7.2.1 ให้ทำการเลือกไปที่ Drive ที่เป็น Drive C เดิมของเราปัจจุบัน (คลิกเมาส์ซ้ายเลือก) จากนั้นกด Format (โดยให้สังเกตุก่อนการ Format ว่า Drive C ของเราคือ Drive ไหน โดยให้สังเกตุจากความจุของ Harddisk หรือเราจะเข้าไปเปลี่ยน Label ของ Drive ก่อนการ Format ก็ได้ เราก็จะได้ไม่ Format ผิด Drive)

ก่อนการ format เราต้อง Backup ข้อมูลของ Drive C ที่เราที่สำคัญของเราด้วยนะ

install Windows 7 format disk

 

7.2.2  จากนั้นก็เลือก Drive C ที่เรา format ไป > กด Next

หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System

install Windows 7 install windows

 

8. รอทำการติดตั้ง Windows 7

install Windows 7 watting install

 

9. ตั้งชื่อ Type a user name : ให้เราตั้งชื่อ User ในการ Login Windows  อาทิเช่น Patompon

Type a computer name : ให้ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์

install Windows 7 username

10. ทำการตั้ง Password ใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ โดยถ้าไม่ใส่ ก็ให้ทำการกด Next ได้เลย

install Windows 7 password

11. ใส่ Product Key Windows 7 (สำหรับใครไม่เป็นหน้านี้ก็ให้ข้ามไปได้เลยครับ)

install Windows 7 produckey

12. สำหรับใครที่ใช้ Windows 7 แท้ ให้เลือก User Recommended Settings ในการ Update Windows 7

install Windows 7 securiry

13. ตั้งเวลาของ Windows โดยให้เลือก

Time zone : UTC+7 Bangkok

install Windows 7 settime

 

14. เลือก Publish Network (สำหรับใครไม่เป็นหน้านี้ก็ให้ข้ามไปได้เลยครับ)

install Windows 7 publish

15. เสร็จสิ้นการติดตั้ง Windows 7

จากการสอนด้านบน บางภาพอาจจะไม่เหมือนกันบางจุด แนะนำว่าให้อ่านว่า Microsoft ให้ทำอะไร บางภาพบางคนไม่มีก็ไม่ต้องตกใจนะครับ

จากนั้นใครที่ต้องการลง Driver เพิ่มเติมก็ให้ทำการลง Driver ต่อได้เลยครับ โดย Drivers ต่างๆก็คือตามรุ่นของ Notebook ของเรา หรือคอมพิวเตอร์ประกอบของเราตามรุ่นของเมนบอร์ด ซึ่งบางคนถ้าไม่ลง Drivers จะไม่สามารถทำการใช้ Wireless หรือ LAN และทำการ Activate License ให้ตรงกับ Windows ของเราด้วย แนะนำว่าลง drivers ให้ตรงรุ่นกับคอมพิวเตอร์ของเรานะครับ เป็นไงมั้งครับ สำหรับการลง Windows 7

แนะนำการติดตั้งไดร์เวอร์ต่างๆของ Windows

หลังจากที่เราทำการลง Windows 7 , Windows 8.1 และ Windows 10 เสร็จสิ้นเรียบร้อย และหลังจากนั้นเราก็ต้องทำการลงไดร์เวอร์ต่างๆ อาทิเช่น Driver ของการ์ดจอ , Driver เสียง , Driver LAN / Wireless โดยคอมพิวเตอร์ใหม่ๆบางเครื่องหลังจากที่ทำการลง Windows เรียบร้อย คอมพิวเตอร์บางรุ่นก็จะได้ Driver พวกนี้มาเลย แต่ถ้าเราลง Windows เรียบร้อย แต่ปรากฎว่าไม่มีเสียง หรือไม่สามารถเล่น Internet ได้ ก็อาจจะต้องมาดูว่า Driver นั้นๆติดตั้งแล้วหรือไม่หลังจากที่เราลง Windows

สิ่งที่ควรทำหลังจากการลง Windows ใหม่ นั้นคือการตรวจสอบ Driver ต่างๆ

สำหรับ Windows 7

ไปที่ Start > Computer > คลิกขวาเลือก Manage > จากนั้นเลือกดูหัวข้อ Device Manager

สำหรับ Windows 8.1 / Windows 10

Driver-Windows-hardware

ไปที่ Logo Windows > คลิกขวาเลือก Device Manager

จากนั้นให้สังเกตุดูว่าที่ ด้านหน้าของแต่ละอุปกรณ์ทั้งหลาย มีเครื่องหมาย สีเหลืองตกใจหรือไม่

Driver-Windows-hardware-ID

ถ้ามีก็แปลว่า Windows ที่เราลงนั้น ยังไม่รู้จักกับ Hardware ที่เราใช้

ทางไปดาวน์โหลด Driver ต่างๆ ของ Notebook แต่ละยี่ห้อ

สำหรับ Notebook แต่ละยี่ห้อ เช่น Dell , Lenovo , Asus , HP และยี่ห้ออื่นๆ

Notebook / PC Dell

Notebook / PC Lenovo

Notebook / PC Asus

Notebook / PC HP

Notebook / PC Acer

สำหรับ คอมประกอบ ให้ไปยัง WebSite ของ เมนบอร์ดที่เราใช้ โดยเอารุ่นเมนบอร์ดของเราเป็นตัวตั้งต้น อาทิเช่น Mainboard ASUS ก็ให้เข้า WebSite ของ ASUS แล้วทำการดาวน์โหลดให้ตรงรุ่น ส่วนสำหรับใครที่ซื้อการด์จอแยก ก็ต้องหาดาวน์โหลด Driver ต่างๆมาลงด้วย

การแนะนำในการดาวน์โหลด Driver ต่างๆ

โดยการดาวน์โหลด Driver ต่างๆทั้งของ Notebook / PC ประกอบ ก็ให้ทำการเลือก อุปกรณ์ที่เราใช้ ให้ตรงกับ Windows ของเราด้วย อาทิเช่น เราใช้ Windows 8.1 64 bit ในการดาวน์โหลดต่างๆของ Driver เราก็จะต้องโหลดให้ตรงรุ่นของ Windows เราด้วยนะครับ

โดย Notebook / PC ก็ให้ทำการดาวน์โหลดไดร์เวอร์ จากนั้นก็ทำการติดตั้งให้เรียบร้อย

ในกรณีหา Driver ไม่ได้

ให้ทำการคลิกขวาที่อุปกรณ์ของเราที่ขึ้นสีเหลืองตกใจด้านหน้า > เลือก Properties > Details > จากนั้นเลือก Property : Hardware IDs

และทำการ Copy Value ต่างๆไป Search ดูใน Google

Driver-Windows-hardware2

เท่านี้เราก็สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ของเราได้อย่างราบรื่น โดยสามารถทำการเล่นเกมส์ต่างๆได้ภาพสวยงาม หรือจะท่องอินเตอร์เน็ทเพื่อหาความรู้ให้แก่ตัวเอง ตาม Windows รุ่นต่างๆที่เราได้ทำการลง