กฎ 10,000 ชั่วโมง เขากล่าวว่า ' เราทุกคนสามารถที่จะมีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งได้'

มัล คอล์มแกลดเวลล์  ไม่เชื่อว่าการมีพรสวรรค์จะนำไปสู่ความสำเร็จ สิ่งที่สำคัญจริงๆคือ กฎ 10,000 ชั่วโมง เขากล่าวว่า ' เราทุกคนสามารถที่จะมีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งได้ หากเราใช้เวลากับมันอย่างต่ำ 10,000 ชั่วโมง' นั่นหมายความว่าคนทีเก่งขั้นเทพในเรื่องใดๆนั้นต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนัก กว่า หนึ่งหมื่น ชั่วโมง ในสาขาเฉพาะเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ภาษา คอมพิวเตอร์ การวาดรูป คณิตศาสตร์ การเงิน การลงทุน

 

ถ้าหากเราทุ่มเทฝึกฝนกับสิ่งนั้นวันละกี่ชั่วโมงและจะต้องใช้เวลากี่ปี

  - ฝึกวันละ 1 ชม. ใช้เวลา 10000 วัน หรือ 27 ปีกว่าๆ

  - ฝึกวันละ 2 ชม. ใช้เวลา 5000 วัน หรือ ราว 14 ปี

  - ฝึกวันละ 4 ชม. ใช้เวลา 2500 วัน หรือ ประมาณ 7 ปี

  - ฝึกวันละ 8 ชม. ใช้เวลา 1250 วัน หรือ เกือบๆ 4 ปี

   - ฝึกวันละ 12 ชม. ใช้เวลา 833 วัน หรือ ประมาณ 2 ปี

 

มาดูตัวอย่างของกลุ่มบุคคลผู้ที่เคยผ่าน กฎ 10,000 ชั่วโมง  

บิล เกตส์

  ก่อนที่บิลเกตส์ จะกบฏต่อชีวิตมหาวิทยาลัย เขามี ' โอกาส – ความพยายาม – การฝึกฝน' ในเรื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่อายุ 15-16 ปี เป็นระดับหนักหน่วง 8 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่อสัปดาห์ ความรู้ความชำนาญในเรื่องคอมพิวเตอร์ของเขาสูงกว่านักศึกษาระดับปริญญาตรี หลายสิบหลายร้อยเท่า เขาจึงสามารถทิ้งใบรับปริญญาอย่างไม่ใยดีได้ ใครก็ตามที่คิดจะเอาอย่างเพียงแค่เดินออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อแสวงหาความ สำเร็จด้วยตนเอง ขณะที่ข้างในกลวง หรือไม่เจ๋งจริง ก็อย่าหวังว่าจะประสบความสำเร็จเหมือนบิลเกตส์ 

 

เดอะบีตเทิลส์

  ก่อนที่พวกเขาจะโด่งดังก็ต้องผ่านกฎ 10,000 ชั่วโมงเช่นกัน ไม่เพียงแต่การเล่น หรือซ้อมในเมืองลิเวอร์พูลเท่านั้น แต่มีช่วงหนึ่งที่พวกเขาไปเล่นที่คลับระบำเปลื้องผ้าแห่งหนึ่งในฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมัน ชื่อ 'อินทรา' ที่นั่นเขาเล่นดนตรีสัปดาห์ละ 7 วัน แต่ละคืนมากกว่า 5 ชั่วโมงขึ้นไป ชั่วโมงบินของบีทเทิลส์จึงสูงลิ่ว ว่ากันว่า ตอนที่พวกเขาประสบความสำเร็จใน พ.ศ. 2507 เดอะบีทเทิลส์แสดงสดไปแล้ว 1,000 ครั้ง ขณะที่วงดนตรีปัจจุบันส่วนใหญ่แสดงกันไม่ถึง 1,200 ครั้งตลอดชีวิตนักดนตรีของพวกเขา

 

สตีฟ จอบส์

  เป็นบุตรบุญธรรมของสามีภรรยาชนชั้นแรงงานใยย่าน 'ซิลิคอล วัลเลย์'แหล่งอุตสาหกรรมซอฟแวร์และบริษัทไอทีชั้นนำของประเทศอเมริกา จึงไม่ต้องแปลกใจว่าสาเหตุที่ สตีฟ จ๊อบส์ผู้โด่งดังในด้านไอทีเช่นทุกวันนี้ส่วนหนึ่งย่อมเกิดจากเบ้าหลอม จากสภาพแวดล้อมที่เขาเติบโตขึ้นมาในแหล่งนี้ ครอบครัวจ๊อบส์เลี้ยงลูกบุญธรรมของพวกเขาให้เรียนรู้การทำงานมาตั้งแต่เด็กๆ พอล จ๊อบส์ พ่อบุญธรรมยังสอนให้สตีฟตัวน้อยเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างในโรงงาน เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆถึงแม้ว่าตัวพ่อบุญธรรมเองจะมีความรู้ จำกัดเพราะเขาเป็นเพียงช่างเครื่องให้กับบริษัทผลิตเลเซอร์เท่านั้นก็ตาม กล่าวได้ว่าพ่อบุญธรรมเป็นผู้จุดประกายความสนใจเรื่องอิเล็กทรอนิกส์ให้กับ สตีฟ จ๊อบส์ ส่วนแม่บุญธรรมจะสอนให้เขาหัดอ่านเขียนได้ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน ครอบครับจ๊อบส์มีเพื่อนบ้านเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ทำงาน ที่ Hewlett Packard ชื่อว่า แลร์รี่ แลง( Larry Lang ) เขาสอนความรู้เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ให้สตีฟ จ๊อบส์ มากมายมหาศาล และด้วยความฉายแววความเก่งออกมาตั้งแต่เด็กๆตอนที่อยู่เกรดสี่ ทำให้ครูที่โรงเรียนเสนอให้เขาข้ามไปเรียนชั้นมัธยมได้เลย เขามักจะไปฟังบรรยายที่บริษัท Hewlett Packard หลังเลิกเรียนบ่อยๆ ต่อมาสตีฟวัย 15 ปีถูกจ้างให้ทำงานบริษัทนี้ในช่วงฤดูร้อน โดยทำงานร่วมกับ สตีฟ วอซเนียก ( Steve Wozniak ) เพื่อนรุ่นพี่ที่โรงเรียน Homestead High School เหมือนกัน หลังจากจบชั้นมัธยมเขาเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยรีด ซึ่งค่าเทอมที่นี่แพงมาก พ่อแม่บุญธรรมของเขาไม่มีเงินมากพอที่จะส่งเรียนให้จบได้ เขาจึงตัดสินใจดร็อปเรียนหลังจากเข้ามหาวิทยาลัยได้เพียง 6 เดือน แม้จะดร็อปเรียนแล้ว เขาก็ยังต้องเตร็ดเตร่อยู่แถวมหาลัยอีก 18 เดือนด้วยการสิงอยู่ตามห้องเพื่อนเพราะไม่มีหอพักให้อยู่แล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ค่อนข้างอัตคัดฝืดเคือง เขาต้องเก็บกระป๋องโค้กไปขายได้เงินกระป๋องละ 5 เซนต์และนำเงินที่ได้ไปซื้อข้าวประทังชีวิตกิน พอถึงทุกๆวันอาทิตย์เขาต้องเดินข้ามเมืองเป็นระยะทาง 7 ไมล์เพื่อที่จะได้กินอาหารดีๆที่โบสถ์ฟรีเพียง 1 มื้อ 

 

ในปี 1974 สตีฟ จ๊อบส์ เข้าสมาคมที่ชื่อว่า ' Homebrew Computer Club ' เป็นสมาคมอย่างไม่เป็นทางการของเหล่าผู้มีงานอดิเรกที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในซิลิคอนวัลเลย์ ซึ่งสมาชิกชมรมนี้ประกอบไปด้วยผู้ที่จะกลายเป็นแฮกเกอร์ฝีมือฉกาจและผู้ ประกอบการด้านไอที หลังจากนั้น สตีฟ จ๊อบส์ เริ่มต้นหางานทำโดยได้งานเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคที่อาตาริ ผู้ผลิตวีดีโอเกมที่ได้รับความนิยมอย่างสูง เขาได้รับมอบหมายงานให้สร้างแผ่นลายวงจรพิมพ์ ( Circuit board ) โดยบริษัทเสนอจะมอบเงินให้ 100 ดอลลาร์ต่อชิพแต่ละตัวที่ถูกลดลงไปในเครื่อง เขาจึงได้ร่วมกับสตีฟ วอซเนียกซึ่งตอนนั้นวอซเนียกทำงานประจำอยู่ที่ Hewlett Packard พวกเขาสามารถลดจำนวนการใช้ชิพลงได้ถึง 50 ตัว ซึ่งเป็นการออกแบบที่แน่นหนามากจนเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการถอดแบบเพื่อทำซ้ำใน แนวประกอบชิ้นส่วนของเครื่องในโรงงาน หลังจากนั้นในปี 1976 สตีฟ จ๊อบส์ มีอายุได้ 20 ปี ชีวิตเขาก็มาถึงกาลจุดเปลี่ยนเพราะสตีฟ จ๊อบส์ และเพื่อนคือสตีฟ วอซเนียก ทั้งสองร่วมมือกันผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลออกมาขาย เขาต้องขายสมบัติทุกอย่างที่มี อันประกอบด้วยรถแวนเก่าๆ 1 คัน เครื่องคิดเลข 2 เครื่อง เพื่อเป็นทุนในการทำธุรกิจ โดยรวบรวมทุนได้ 1,300 เหรียญ แต่ละวันเขานั่งวุ่นอยู่กับทรานซิสเตอร์ ขลุกอยู่กับสายไฟ ทำงานหามรุ่งหามค่ำกับวงจรไฟฟ้า จัดการนำชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ไม่มียี่ห้อมาประกอบเข้ากันภายในกล่อง พลาสติกและสถานที่ผลิตของพวกเขาคือโรงรถของพ่อบุญธรรมของสตีฟ จ๊อบส์นั่นเอง เขาไม่ได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยเพื่อจะได้นอนตื่นสายและเอ้อระเหยลอยชายทั้ง วันแล้วนั่งรอให้สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น เขาทั้งสองรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ดีมาก เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่พวกเขาได้นำเสนอออกสู่สายตาได้แก่เครื่อง Apple I ซึ่งตั้งราคาขายไว้ที่ 666.66 ดอลล่าร์สหรัฐ แน่นอน สตีฟ จ๊อบส์ ผ่านกระบวนการฝึกฝนกว่า 10,000 ชั่วโมงอย่างไม่ต้องสงสัย 

 

ผมเชื่อ ว่ามนุษย์คนหนึ่ง หากพื่้นฐานเป็นคนที่มีสุขภาพและมันสมองดี ประกอบกับได้รับการฝึกฝนจากการที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเหมือนคนจนตรอก แล้ว จะทำให้คนผู้นั้นมีภูมิคุ้มกันและมีพลังแฝง รวมไปถึงความทะเยอทะยานที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างไม่ย่อท้อ ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาร้ายแรงอย่างไรก็ตาม คนผู้นี้จะสามารถล้มและลุกขึ้นมาใหม่ได้เสมอ และเขาจะสามารถยืนหยัดและก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างลำพังได้อย่างมาดมั่นด้วย ตัวของเขาเอง

 

' You've got to find what you love ' Jobs says.

 

เรา ควรหาสิ่งที่เรารักให้เจอและจงทำมัน แต่หากเรายังหาสิ่งที่รักไม่เจอจงอย่าหยุดที่จะหามัน และเราจะรู้ได้เองเมื่อเราพบในสิ่งที่เรารักจริงๆ

 

ไทเกอร์ วูดด์

  นักกอล์ฟระดับโลก มีคนเคยถามเขาว่า คุณใช้เวลาในการซ้อมกอล์ฟมากขนาดไหนต่อวัน? ไทเกอร์ วูดด์ ตอบว่า ตลอดเวลา

 

วอร์เรน บัฟเฟตต์

  เป็นมหาเศรษฐีระดับ 2 ของโลก เขาเป็นตัวอย่างของนักลงทุน ที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของหุ้นที่เขาลงทุน (Value Investor) ปรัชญาการลงทุนของนายบัฟเฟตต์ คือ 'กฎข้อที่หนึ่ง: อย่ายอมเสียเงิน และกฎข้อที่สอง: อย่าลืมกฎข้อ 1″ เขายึดถือและใช้กฎนี้ในการลงทุนอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ปี

 

เปรียบเทียบให้เห็นภาพ

ถ้า คุณทำสิ่งที่คุณรักวันละ 1 ชั่วโมง ใน 1 ปี มี 365 วัน ก็แค่ 365 ชั่วโมง ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ถึงจะได้ 3,650 ชั่วโมง ต้องใช้เวลาถึง 30 ปีถึงจะมีชั่วโมงบินถึง 10,000 ชั่วโมง ดังนั้นคาถาย่อย่นหนทาง จึงควรกล่าวได้ว่า ทำมันและอยู่กับสิ่งที่คุณรักให้มากขึ้น 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


pakamon

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


http://www.pattayatech.ac.th