หน่วยที่ 9 อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9

หน่วยที่  9

ชื่อวิชา   ความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ  รหัส  2001-1001

เวลาเรียนรวม  36  คาบ

ชื่อหน่วย  อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

สอนครั้งที่ 16- 17 /18

ชื่อเรื่อง    อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

จำนวน   4  คาบ

 

หัวข้อเรื่อง

          1.   วัตถุประสงค์ของอาชีวอนามัย

          2.    องค์ประกอบของอาชีวอนามัย

          3.   ขอบเขตของอาชีวอนามัย

          4.    ความหมายของความปลอดภัย

          5.   ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน

          6.    กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย

          7.    วิธีการทำงานอย่างปลอดภัยในการประกอบอาชีพ

          8.    กิจกรรมส่งเสริมความความปลอดภัยในการทำงาน

          9.    มาตรฐานระบบคุณภาพการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ISO  18000

          แบบฝึกหัดหน่วยที่  9

 

สาระสำคัญ / แนวคิดสำคัญ

          การขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้มีการใช้เครื่องจักรสมัยใหม่   ทันสมัย  วัตถุดิบต่าง  ๆ  เข้ามาป้อนในกระบวนการผลิต   การรับคนจำนวนมากเข้ามารวมกัน   การใช้สารเคมีที่มีอันตรายในการผลิต   ตลอดจนการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงงานที่ไม่ได้รับการปรับปรุงทำให้คนงานเจ็บป่วย   หรือได้รับอุบัติเหตุมากขึ้นปัจจุบันจึงได้มีงานอาชีวอนามัย  เพื่อควบคุมและป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบอาชีพต่าง          ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม

 

สมรรถนะย่อย

          แสดงความรู้เกี่ยวกับอาชีวอามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

 

จุดประสงค์การปฏิบัติ

          ด้านความรู้

                   1.    บอกวัตถุประสงค์ของอาชีวอนามัย

                   2.    บอกองค์ประกอบของอาชีวอนามัย

                   3.   บอกขอบเขตของอาชีวอนามัย

                   4.    บอกความหมายของความปลอดภัย

                   5.    อธิบายความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน

                   6.    อธิบายวิธีปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย

                   7.    อธิบายวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยในการประกอบอาชีพ

                   8.    ระบุกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

                   9.    อธิบายมาตรฐานระบบคุณภาพการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ISO  18000

 

          ด้านคุณธรรม   จริยธรรม / บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                   ตรงต่อเวลามีวินัย  มีความรับผิดชอบ   ละเอียดรอบคอบ  สนใจใฝ่รู้  มีความซื่อสัตย์

 

เนื้อหาสาระ

          1.    วัตถุประสงค์ของอาชีวอนามัย

                   งานอาชีวอนามัยเป็นการปรับสภาพของงานให้เหมาะสมกับมนุษย์และจัดบุคคลให้เหมาะสมกับงานที่ตนถนัด   และรับผิดอชอบซึ่งงานอาชีวอนามัยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ   เช่น   เพื่อส่งเสริมและรักษาสุขภาพทางกาย  ทางใจ  และการมีชีวิตเป็นปกติในสังคมของคนงานทุกอาชีพ   เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อปัจจัยที่อาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนงาน  เป็นต้น

 

          2.    องค์ประกอบของอาชีวอนามัย

                   งานอาชีวอนามัยมีองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ  คน  กระบวนการผลิต   เครื่องมือ  สิ่งแวดล้อมในการทำงาน

 

          3.   ขอบเขตของอาชีวอนามัย

                   ขอบเขตของอาชีวอนามัย   เช่น   ป้องกันและรักษาอุบัติภัยจากการทำงานในอาชีพ   ป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ  และการจัดบริการสุขภาพแก่คนงาน   ส่งเสริมสุขภาพจิตในการทำงาน

 

          4.    ความหมายของความปลอดภัย

                   ความปลอดภัย  หมายถึง   การพ้น  หรือ ปราศจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่าง  ๆ   ทั้งจากโรคและจากอุบัติภัย

 

          5.    ความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน

                   การทำงานที่มีความระมัดระวังจะทำให้มีความปลอดภัย  ซึ่งเกิดประโยชน์หลายประการ   เช่น  ต้นทุนการผลิตลดลง  ผลผลิตเพิ่มขึ้น  กำไรมากขึ้น  รักษาทรัพยากรมนุษย์  จูงใจให้คนอยากทำงานมากขึ้น

 

          6.    กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย  

 

          7.   วิธีการทำงานอย่างปลอดภัยในการประกอบอาชีพ

 

          8.    กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน  เช่น   ช่วยกันรักษาความสะอาดและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย   ปรับปรุงแก้ไขสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย   ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด   รายงานการบาดเจ็บและการปฐมพยาบาล  เป็นต้น

 

          9.   มาตรฐานระบบคุณภาพการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ISO  18000

 

กิจกรรมการเรียนรู้  (สัปดาห์ที่  16  คาบที่  31-32)

          ขั้นเตรียม

                   1.    ครูขานชื่อผู้เรียน  สังเกตความพร้อมในการเรียน

                   2.    ครูทบทวน  ให้ข้อมูลย้อยกลับเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม

 

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

                   1.    ครูให้นักเรียนทดสอบก่อนเรียน  หน่วยที่  9

                   2.    ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเรื่อง  ความปลอดภัยในการทำงาน

                   3.   นักเรียนช่วยกันตอบคำถามที่ครูถาม

 

          ขั้นเรียนรู้

                   1.    ครูอธิบาย  ถาม – ตอบในหัวข้อ  วัตถุประสงค์ของอาชีวอนามัย องค์ประกอบของอาชีวอนามัย 

                           ขอบเขตของอาชีวอนามัย   ความหมาย   และความสำคัญของความปลอดภัยในการทำงาน

                   2.    ครูให้นักเรียนจับกลุ่มนำเสนอข้อสรุปที่ได้จากการระดมสมองในกลุ่ม

                   3.   ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหน่วยที่  9 ข้อ  1-5  และร่วมกันเฉลย

 

          ขั้นสรุป

                   1.    ครูสรุปเนื้อหาสาระสำคัญในบทเรียน

 

กิจกรรมการเรียนรู้  (สัปดาห์ที่  17 คาบที่  33 – 34)

          ขั้นเตรียม

                   1.     ครูขานชื่อผู้เรียน

                   2.    ครูทบทวน  ให้ข้อมูลย้อนกลับอาชีวอนามัย    

 

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

                   1.    ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเรื่องกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในโรงงาน

                   2.    นักเรียนช่วยกันตอบคำถามที่ครูถาม

 

          ขั้นเรียนรู้

                   1.    ครูอธิบาย  ถาม – ตอบในหัวข้อ  กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานของประเทศไทย  วิธีการ

                           ทำงานอย่างปลอดภัยในการประกอบอาชีพ   กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

                            มาตรฐานระบบคุณภาพการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ISO  18000

                    2.    ครูให้นักเรียนจับกลุ่มนำเสนอข้อสรุปที่ได้จากการระดมสมองในกลุ่ม

                   3.    ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหน่วยที่  9  ข้อ  6 – 9  และร่วมกันเฉลย

 

          ขั้นสรุป

                   1.    ครูสรุปเนื้อหาสาระสำคัญในบทเรียนและให้นักเรียนทดสอบหลังเรียนหน่วยที่  9

การวัดผลและประเมินผล

 

การวัดผล

(ใช้เครื่องมือ)

การประเมินผล

(นำผลเทียนกับเกณฑ์และแปลความหมาย)

1.  แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre – test)  หน่วยที่  9

(ไว้เปรียบเทียบกับคะแนนสอบหลังเรียน)

2.  แบบสังเกตการทำงานกลุ่มและการนำเสนอผลงานกลุ่ม

เกณฑ์ผ่าน  60%

3.  แบบฝึกหัดหน่วยที่  9

เกณฑ์ผ่าน  50%

4.  แบบทดสอบหลังเรียน  (Post – test)  หน่วยที่ 9

เกณฑ์ผ่าน  50%

5.  แบบประเมินคุณธรรม  จริยธรรม ตามสภาพจริง

เกณฑ์ผ่าน  60%

 

งานที่มอบหมาย

          ให้นักเรียนบททวนเนื้อหาเพื่อเตรียมตัวสอบปลายภาคเรียน  

 

ผลงาน /  ชิ้นงาน /ความสำเร็จของผู้เรียน

          1.    คะแนนจากแบบฝึกหัดหน่วยที่  9

          2.    คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน  (Post – test)   หน่วยที่ 9

          3.    ผลจากการนำเสนอสาระสำคัญ

          4.    การสำรวจจากการมอบหมายงาน

 

เอกสารอ้างอิง

          1.    หนังสือเรียนวิชาความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ  รหัสวิชา  2001-1001  บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทย

          2.    เว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน