หน่วยที่ 7 ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000

 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7

หน่วยที่  7

ชื่อวิชา   ความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ  รหัส  2001-1001

เวลาเรียนรวม  36  คาบ

ชื่อหน่วย   ระบบบริหารงานคุณภาพ  ISO 9000

สอนครั้งที่  13-14 /18

ชื่อเรื่อง    ระบบบริหารงานคุณภาพ  ISO 9000

จำนวน   4  คาบ

 

หัวข้อเรื่อง

          1.   ความหมายของระบบบริหารคุณภาพ  ISO   9000

          2.   ประวัติของระบบบริหารคุณภาพ  ISO  9000

          3.    สมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน  ISO

          4.    ผลประโยชน์จากการเป็นสมาชิกของ  ISO

          5.    มาตรฐาน  IOS  9000  ในประเทศไทย

          6.    ลักษณะสำคัญของมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ  ISO  9000

          7.    ประโยชน์ของ  ISO  9000

          แบบฝึกหัดหน่วยที่  7

 

สาระสำคัญ /  แนวคิดสำคัญ

          ระบบบริหารคุณภาพ  ISO  9000  คือระบบการจดทะเบียนรับรองระบบมาตรฐานคุณภาพของหน่วยผลิต   ระบบการจดทะเบียนนี้ไม่ใช่การประกันคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์หรือการบริหาร  แต่เป็นระบบที่ส่ง  เสริมให้มีการยกระดับการบริหารเชิงคุณภาพของหน่วยผลิตโดยรวม

 

สมรรถนะย่อย

          แสดงความรู้เกี่ยวกับระบบงานบริหารงานคุณภาพ  ISO  9000

 

จุดประสงค์การปฏิบัติ

          ด้านความรู้

                    1.    บอกความหมายของระบบบริหารคุณภาพ  ISO  9000

                    2.    อธิบายประวัติของระบบบริหารคุณภาพ  ISO  9000

                    3.    ระบุสมาชิกของ  ISO  9000

                    4.    บอกผลประโยชน์จากการเป็นสมาชิกของ IOS  9000

                    5.    อธิบายมาตรฐาน  ISO 9000 ในประเทศไทย

                    6.    บอกลักษณะสำคัญของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ  IOS 9000

                    7.   บอกประโยชน์ของ ISO  9000

 

          ด้านคุณธรรม  จริยธรรม / บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                    ตรงต่อเวลามีวินัย  มีความรับผิดชอบ  ละเอียดรอบคอบ  สนใจใฝ่รู้  มีความซื่อสัตย์

 

เนื้อหาสาระ

          1.    ความหมายของระบบบริหารคุณภาพ  ISO  9000

                   ระบบบริหารคุณภาพ  ISO   9000  คือ  มาตรฐานสากลซึ่งเป็นระบบบริหารประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ระบบคุณภาพเท่าเทียมกันระหว่างองค์การต่าง  ๆ  และประเทศต่าง  ๆ

 

          2.    ประวัติของระบบบริหารคุณภาพ  ISO  9000

                   ISO  ย่อมาจาก  International  Organization  For  Standardization   คือ  องค์กรสากลว่าด้วยการมาตรฐานซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา  ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อวันที   14  ตุลาคม พ.ศ. 2490  (ค.ศ.  1947)  ปัจจุบันมีสมาชิก  143  ประเทศ

 

          3.    สมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน  ISO

                   องค์กร  ISO  ประกอบด้วยสมาชิกทั่วโลกจำนวน  143  ประเทศ   สมาชิกแบ่งเป็น  3  ประเภทคือ  Member  Body   Correspondent  Member  and  Sabscriber  Membership

 

          4.    ผลประโยชน์จากการเป็นสมาชิกของ  ISO

                   สมาชิกขององค์กร  ISO  มี  3  ประเภท   ประเทศไทยเป็นสมาชิกของ ISO  ซึ่งได้รับประโยชน์แบ่งออกเป็น  2  ด้านใหญ่  ๆ   คือด้านเศรษฐกิจ  และด้านวิชาการ


          5.    มาตรฐาน  ISO  9000   ในประเทศ

                   ประเทศไทยได้จัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในเรื่องมาตรฐานของประเทศ  เรียกว่า  สำนำงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  (สมอ.)  (Thai  Industrial  Standard  Institute :  TISI)   เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช  2511  สำหรับมาตรฐานที่ใช้ควบคุมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  เมื่อ  ปีพุทธศักราช    2534   โดยประกาศในราชกิจจา – นุเบกษา  เล่มที่  108  ตอนที่  99  วันที่  4  มิถุนายน   ปีพุทธศักราช  2534   โดยใช้ชื่อ  อนุกรมมาตรฐานระบบคุณภาพ  มอก.  -  ISO  9000  ในปีพุทธศักราช  2542 

 

          6.   ลักษณะสำคัญของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO  9000

                   เป็นการบริหารงานคุณภาพเพื่อทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ  มุ่งเน้นการบริหารคุณภาพทุกขั้นตอน  เน้นการปฏิบัติที่เป็นระบบมีแบบแผน  ฯลฯ

 

          7.    ประโยชน์ของ  ISO 9000

                   ในการนำระบบ  ISO  9000  มาใช้ในองค์การ  ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคคล  2  กลุ่มและองค์การ  คือ  ต่อพนักงาน   ประโยชน์ต่อผู้ซื้อ   หรือผู้บริโภค  และประโยชน์ต่อองค์การ

 

 

 

 

 

 

กิจกรรมการเรียนรู้   (สัปดาห์ที่  13  คาบที่  25-26)

          ขั้นเตรียม

                   1.    ครูขานชื่อผู้เรียน   สังเกตความพร้อมในการเรียน

                   2.    ครูทบทวนให้ข้อมูลย้อนกลับเรื่องการบริหารงานคุณภาพ

 

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

                   1.    ครูให้นักเรียนทดสอบก่อนเรียน  หน่วยที่  7

                   2.    ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเรื่อง  ISO

                   3.   นักเรียนช่วยกันตอบคำถามที่ครูถาม

 

          ขั้นเรียนรู้        

                   1.    ครูอธิบาย  ถาม –  ตอบ  ในหัวข้อความหมายของระบบบริหารคุณภาพ            ISO  9000  ประวัติจอง

                            ระบบบริหารคุณภาพ   ISO   9000   สมาชิกขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วย  มาตรฐาน  ISO 

                   2.    ครูให้นักเรียนจับกลุ่มนำเสนอข้อสรุปที่ได้จากการระดมสมองในกลุ่ม

                   3.    ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหน่วยที่  7  ข้อ  1-4   และร่วมกันเฉลย

 

          ขั้นสรุป

                   1.    ครูสรุปเนื้อหาสาระสำคัญในบทเรียน

 

กิจกรรมการเรียนรู้  (สัปดาห์ที่   14  คาบที่  27 – 28)  ต่อ

          ขั้นเตรียม

                   1.    ครูขานชื่อผู้เรียน

                   2.   ครูทบทวน  ให้ข้อมูลย้อนกลับในหัวข้อ  7.1  -  7.3

 

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

                   1.    ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเรื่องมาตรฐาน  ISO  9000  ในประเทศไทย

                   2.    นักเรียนช่วยกันตอบคำถามที่ครูถาม

 

          ขั้นเรียนรู้

                   1.    ครูอธิบาย  ถาม – ตอบในหัวข้อ  ผลประโยชน์จากการเป็นสมาชิก  ISO  มาตรฐาน  ISO   9000 

                           ในประเทศไทย   ลักษณะสำคัญของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ  ISO  9000  ประโยชน์

                           ของ  ISO  

                   2.    ครูให้นักเรียนจับกลุ่มนำเสนอข้อสรุปที่ได้จากการระดมสมองในกลุ่มและนำเสนองานที่มอบหมาย

                   3.    ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหน่วยที่  3  ข้อ  5 – 7  และร่วมกันเฉลย

 

 

 

 

 

          ขั้นสรุป

                   1.    ครูสรุปเนื้อหาสาระสำคัญใบบทเรียน

                   2.    ครูให้นักเรียนทดสอบหลังเรียนหน่วยที่  7

 

การวัดผลและประเมินผล

 

การวัดผล

(ใช้เครื่องมือ)

การประเมินผล

(นำผลเทียนกับเกณฑ์และแปลความหมาย)

1.  แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre – test)  หน่วยที่  7

(ไว้เปรียบเทียบกับคะแนนสอบหลังเรียน)

2.  แบบสังเกตการทำงานกลุ่มและการนำเสนอผลงานกลุ่ม

เกณฑ์ผ่าน  60%

3.  แบบฝึกหัดหน่วยที่  7

เกณฑ์ผ่าน  50%

4.  แบบทดสอบหลังเรียน  (Post – test)  หน่วยที่ 7

เกณฑ์ผ่าน  50%

5.  แบบประเมินคุณธรรม  จริยธรรม ตามสภาพจริง

เกณฑ์ผ่าน  60%

 

งานที่มอบหมาย

          จากการสำรวจว่าองค์กร /  หน่วยงาน / โรงงานใดในพื้นที่ใกล้เคียงบ้านนักเรียนที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ  ส่งในการเรียนสัปดาห์ที่  13  นั้น   เมื่อผ่านการตรวจแล้วให้เตรียมนำเสนอในสัปดาห์ที่  14  

 

ผลงาน /  ชิ้นงาน /ความสำเร็จของผู้เรียน

          1.    คะแนนจากแบบฝึกหัดหน่วยที่  7

          2.    คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน  (Post – test)   หน่วยที่ 7

          3.    ผลจากการนำเสนอสาระสำคัญ

          4.    การสำรวจจากการมอบหมายงาน

 

เอกสารอ้างอิง

          1.    หนังสือเรียนวิชาความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ  รหัสวิชา  2001-1001  บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทย

          2.    เว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน