หน่วยที่ 3 การบริหาร

 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

หน่วยที่  3

ชื่อวิชา   ความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ  รหัส  2001-1001

เวลาเรียนรวม  36  คาบ

ชื่อหน่วย   การบริหาร

สอนครั้งที่  5-6/18

ชื่อเรื่อง    การบริหาร

จำนวน   4  คาบ

 

หัวข้อเรื่อง

          3.1   ความหมายของการบริหาร                               3.2    ประโยชน์ของการบริหาร

          3.3   ระดับและหน้าที่ของการบริหาร                          3.4    บทบาทของผู้บริหาร

          3.5   ทักษะของผู้บริหาร                                        3.6    ทรัพยากรในการบริหาร

          3.7   หน้าที่การบริหาร

          แบบฝึกหัดบทที่  3

 

สาระสำคัญ /  แนวคิดสำคัญ

          การบริหาร  เป็นกระบวนการดำเนินงานให้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ   เพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดมีประโยชน์ช่วยให้เกิดการประหยัด  มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ  ต่อผู้บริหารที่ดีต้องมีบทบาท   10 ข้อและทักษะ  3  ด้าน  และยังสามารถใช้ทรัพยากรในการบริหารอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับหน้าที่การบริหารที่นำไปปฎิบัติ

 

สมรรถนะย่อย

          แสดงความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารเพื่อพัฒนาตน

 

จุดประสงค์การปฏิบัติ

          ด้านความรู้

                   1.   บอกความหมายของการบริหาร                  2.    อธิบายประโยชน์ของการบริหาร

                   3.   บอกและอธิบายระดับของผู้บริหาร               4.    อธิบายและจำแนกหน้าที่ของผู้บริหาร

                   5.    อธิบายและจำแนกบทบาทของผู้บริหาร        6.    บอกและเลือกใช้ทักษะของผู้บริหาร

                   7.    อธิบายและให้คุณค่าทรัพยากรในการบริหาร   8.    บอกและจำแนกหน้าที่การบริหาร

 

ด้านคุณธรรม จริยธรรม / บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          ตรงต่อเวลามีวินัย   มีความรับผิดชอบ  และเอียดรอบคอบ  สนใจใฝ่รู้ มีความซื่อสัตย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เนื้อหาสาระ

          3.1    ความหมายของการบริหาร

                   การบริหาร  หมายถึง  กระบวนการดำเนินงานอย่างมีศิลปะในการใช้คนและทรัพยากรต่างๆ  เพื่อให้

                     บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

          3.2    ประโยชน์ของการบริหาร

                   การบริหารเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้บริหารที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน  หากนำมาใช้

                     เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานหลายประการดังนี้

                   ประหยัด ประสิทธิผล  ประสิทธิภาพ  ความเป็นธรรมต่อทุกคนในองค์การ  มีเกียรติยศชื่อเสียง

          3.3    ระดับและหน้าที่ของผู้บริหาร

                   ระดับและหน้าที่ของผู้บริหาร  โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น  3  ระดับ ดังนี้

                   3.3.1    ผู้บริหารระดับสูง (Top  Manager)

                   3.3.2    ผู้บริหารระดับกลาง  (Middle  Manager)

                   3.3.3    ผู้บริหารระดับต้น  (First – Level Manager)

          3.4    บทบาทของผู้บริหาร

                   บทบาทของผู้บริหาร (Management  Rotes)   นักวิชาการด้านการจัดการชื่อ Henry  Mintzbery ได้

                     ศึกษาการทำงานของผู้บริหารแต่ละวัน  พบว่าบทบาทของผู้บริหาร  มี  3  ด้าน  ดังนี้

                   3.4.1    ด้านผู้ประชาสัมพันธ์

                   3.4.2    ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

                   3.4.3    ด้านการตัดสินใจ

          3.5    ทักษะของผู้บริหาร

                   Robert  L. Katz  นักวิชาการด้านการบริหารได้กล่าวว่าทักษะของผู้บริหารว่า  ผู้บริหารจะต้องมีทักษะ   

                     3  ทักษะ  ดังนี้

                   3.5.1    ทักษะด้านการทำงาน  (Technical  Skills)

                   3.5.2    ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์   (Human Skill)

                   3.5.3    ทักษะด้านความคิด  (Comceptuat Skill)  หรือความคิดรวบยอด

          3.6    ทรัพยากรในการบริหาร

                   การบริหารกิจการต่างๆ  ต้องใช้ทรัพยากรอันเป็นปัจจัยที่จำเป็นซึ่งในปัจจุบันทรัพยากร องการบริหารยุคใหม่ประกอบด้วยสิ่งที่สำคัญ   8  ประการ  คือ  8M  ได้แก่  คน (Man)  เงิน (Money)  วัสดุสิ่งของ (Material)  การจัดการ (Management)  ตลาด (Market)  เครื่องจักร (Machine)  วิธีการทำงาน  (Method)  และเวลา (Minute)

         

 

 

 

 

          3.7    หน้าที่การบริหาร

                   เป็นการแสดงให้เห็นว่า  ผู้บริหาร  มีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง  มีงานอะไรบ้าง  จะต้องทำและควรจะทำอะไรก่อนหลัง  นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับผู้บริหารที่จะได้ยึดเป็นหลักในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพ  อย่างไรก็ตามมีนักวิชาการด้านบริหารได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่การบริหาร  ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป  ดังนี้

                   เฮนรี่  ฟาโยล์  เป็นบุคคลแรกที่วิเคราะห์ถึงองค์ประกอบมูลฐานของการบริหารว่ามี  5  ประการ  POCCC 

                   ลูเทอร์   กูลิกและลินดอลล์  เออร์วิกหน้าที่การบริหาร  7  ประการ  ได้คำตอบคือ  POSECORB  และ เออร์เนสต์  เดล ได้จำแนกหน้าที่ของผู้บริหารไว้  7  ขั้นตอน  คือ  POSDCIR

 

กิจกรรมการเรียนรู้  (สัปดาห์ที่  5  คาบที่  9-10)

          ขั้นเตรียม

                   1.    ครูขานชื่อผู้เรียน  สังเกตความพร้อมในการเรียน

                   2.    ครูให้ข้อมูลย้อนกลับเรื่องมาตรฐานอาชีพ

 

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

                   1.    ครูให้นักเรียนทดสอบก่อนเรียน  หน่วยที่  3

                   2.    ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนเรื่อง  การบริหาร

                   3.    นักเรียนตอบคำถามที่ครูถาม

 

          ขั้นเรียนรู้

                   1.    ครูอธิบาย ถาม – ตอบ  ในหัวข้อ  ความหมายของบริหาร  ประโยชน์ของการบริหาร  ระดับและ

                           หน้าที่ของผู้บริหาร

                   2.    ครูให้นักเรียนจับกลุ่มนำเสนอข้อสรุปที่ได้จากกการระดมสมองในกลุ่ม

                   3.   ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหน่วยที่  3   ข้อ  1-4 และร่วมกันเฉลย

 

          ขั้นสรุป

                   1.    ครูสรุปเนื้อหาสาระสำคัญในบทเรียน

 

กิจกรรมการเรียนรู้  (สัปดาห์ที่ 6  คาบที่  11-12) ต่อ

          ขั้นเตรียม

                   1.    ครูขานชื่อผู้เรียน

                   2.    ครูทบทวน  ให้ข้อมูลย้อนกลับในหัวข้อ  3.1 – 3.3

 

          ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

                   1.    ครูตั้งคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน  เรื่องบทบาทผู้บริหาร

                   2.    นักเรียนช่วยกันตอบคำถามที่ครูถาม

          ขั้นเรียนรู้        

                   1.   ครูอธิบาย  ถาม – ตอบในหัวข้อ  3.4 บทบาทของผู้บริหาร  ทักษะของผู้บริหาร  ทรัพยากรในการ

                          บริหารและหน้าที่การบริหาร

                   2.    ครูให้นักเรียนจับกลุ่มนำเสนอข้อสรุปที่ได้จากการระดมสมองในกลุ่ม

                   3.   ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดหน่วยที่ 3  ข้อ 5 – 8  และตอนที่ 2  และร่วมกันเฉลย

 

          ขั้นสรุป

                   1.    ครูสรุปเนื้อหาสาระสำคัญในบทเรียน

                   2.    ครูให้นักเรียนทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 3

                   3.    ผลจากการนำเสนอสาระสำคัญ

                   4.    การสำรวจจากการมอบหมายงาน

 

การวัดผลและการประเมินผล

 

การวัดผล

(ใช้เครื่องมือ)

การประเมินผล

(นำผลเทียนกับเกณฑ์และแปลความหมาย)

1.  แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre – test)  หน่วยที่  3

(ไว้เปรียบเทียบกับคะแนนสอบหลังเรียน)

2.  แบบสังเกตการทำงานกลุ่มและการนำเสนอผลงานกลุ่ม

เกณฑ์ผ่าน  60%

3.  แบบฝึกหัดหน่วยที่  3

เกณฑ์ผ่าน  50%

4.  แบบทดสอบหลังเรียน  (Post – test)  หน่วยที่ 3

เกณฑ์ผ่าน  50%

5.  แบบประเมินคุณธรรม  จริยธรรม ตามสภาพจริง

เกณฑ์ผ่าน  60%

 

งานที่มอบหมาย

          ให้นักเรียนสำรวจบทบาทและหน้าที่ของผู้นำชุมชนของบ้านนักเรียน  ส่งในการเรียนสัปดาห์ที่  6

 

ผลงาน /  ชิ้นงาน /ความสำเร็จของผู้เรียน

          1.    คะแนนจากแบบฝึกหัดหน่วยที่  3

          2.    คะแนนแบบทดสอบหลังเรียน  (Post – test)   หน่วยที่  3

          3.    ผลจากการนำเสนอสาระสำคัญ

          4.    การสำรวจจากการมอบหมายงาน

 

 

เอกสารอ้างอิง

          1.    หนังสือเรียนวิชาความรู้เกี่ยวกับงานอาชีพ  รหัสวิชา  2001-1001  บริษัทศูนย์หนังสือเมืองไทย

          2.    เว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน