หน่วยที่ 5 ตั๋วเงินรับ

ใบความรู้หน่วยที่  5  การบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน

 

  1. 1.      ความหมายและประเภทของตั๋วเงิน

            ตั๋วเงิน  หมายถึง  ตราสารที่ลูกหนี้หรือผู้จ่ายเงินจัดทำขึ้นมาและส่งมอบให้กับเจ้าหนี้ถือไว้เพื่อรอเวลาชำระหนี้ตามเวลาที่ระบุไว้ในตราสารนั้น

            ตั๋วเงิน  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  แบ่งได้  3  ประเภท  คือ

  1. ตั๋วแลกเงิน  (Bill  of  Exchange)
  2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน  (Promissory  Note)
  3. เช็ค  (Cheque   หรือ  Check)

                        ตั๋วเงินในทางบัญชี  แบ่งได้  2  ประเภทคือ

  1. ตั๋วเงินรับ  (Note  Recievable)
  2. ตั๋วเงินจ่าย   (Note  Payable)

 

                  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ได้บัญญัติเกี่ยวกับตั๋วเงินไว้  ดังนี้

ตั๋วแลกเงิน  (Bill  of  Exchange)

ตั๋วสัญญาใช้เงิน  (Promissory  Note)

        มาตรา  908  อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น  คือ  หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้สั่งจ่าย  สั่งบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า  ผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง  หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งเรียกว่า  “ผู้รับเงิน

     มาตรา  982  อันว่าตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น  คือ  หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้ออกตั๋ว  ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง  หรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง  เรียกว่า  “ผู้รับเงิน

         มาตรา 909   อันตั๋วแลกเงินนั้นต้องมีรายการดังกล่าวต่อไปนี้  คือ

  1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน
  2. คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้จ่ายเงินเป็นจำนวนแน่อน
  3. ชื่อ   หรือยี่ห้อผู้จ่าย
  4. วันถึงกำหนดใช้เงิน
  5. สถานที่ใช้เงิน
  6. ชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงิน  หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ
  7. วันและสถานที่ออกตั๋วเงิน
  8. ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับตั๋วแลกเงินมี  3  ฝ่ายคือ

  1. ผู้สั่งจ่าย
  2. ผู้จ่าย
  3. ผู้รับเงิน

              การรับรองตั๋วแลกเงินจะสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อมีผู้จ่ายเงินรับรองตั๋วโดยเขียนคำว่า  “รับรองแล้ว”

พร้อมทั้งลงลายมือชื่อและวันที่ไว้บนด้านหน้าของตั๋ว   ตั๋วแลกเงินมักใช้ในกรณีชำระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อขายระหว่างประเทศ

     มาตรา  983  ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นต้องมีรายการดังกล่าวต่อนี้คือ

  1. คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน
  2. คำมั่นสัญญาอันปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน
  3. วันถึงกำหนดใช้เงิน
  4. สถานที่ใช้เงิน
  5. ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน
  6. วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
  7. ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว

 

 

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับตั๋วสัญญาใช้เงินมี  2  ฝ่ายคือ

  1. ผู้ออกตั๋ว
  2. ผู้รับเงิน

 

2. วันครบกำหนดชำระเงิน  (Maturity  Date)

 

             การกำหนดวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋ว  อาจจะกำหนดได้ดังนี้

  1. จ่ายเงินเมื่อทวงถาม  โดยผู้รับเงินต้องบอกกล่าวให้ผู้จ่ายเงินทราบล่วงหน้าก่อนแล้ว
  2. กำหนดวันที่ที่ต้องจ่ายเงินลงไว้ในตั๋ว
  3. กำหนดโดยระบุระยะเวลาที่ตั๋วนั้นจะครบกำหนดชำระเงิน  ดังนี้

ก.      กำหนดระยะเวลาเป็นปี  วันครบกำหนด  คือวันที่และเดือนที่ออกตั๋ว  แต่เป็นปีถัดไป  เช่น  ตั๋วเงินลงวันที่  5  ธันวาคม  2553  กำหนดเวลา  1  ปี  วันครบกำหนดคือ  วันที่  5  ธันวาคม  2554

ข.      กำหนดระยะเวลาเป็นเดือน  วันครบกำหนด  คือ  วันที่ออกตั๋วเดิมแต่เป็นเดือนที่ครบกำหนด  เช่น  ตั๋วลงวันที่  23  กันยายน  2553  กำหนดเวลา  3  เดือน  วันครบกำหนดคือวันที่   23  ธันวาคม  2553

ค.      กำหนดระยะเวลาเป็นวัน  การนับวันครบกำหนดจะไม่นับวันที่ออกตั๋วแต่นับวันที่ครบกำหนดรวมอยู่ด้วย  เช่น  ตั๋วลงวันที่   10  ตุลาคม  2554  กำหนดเวลา    30  วัน  การคำนวณวันครบกำหนด

             จำนวนวันของเดือน  ต.ค  คือ  ( 31 – 10)      =     21    วัน

              จำนวนวันเดือน  พ.ย                                   =      9    วัน

                                     รวม                                           30    วัน

                                                                     วันครบกำหนดคือ  9  พฤศจิกายน   2554

 

 

3.    การคำนวณดอกเบี้ยตั๋วเงิน

                       ตั๋วเงินแบ่งออกเป็นตั๋วเงินชนิดมีดอกเบี้ย  และตั๋วเงินชนิดไม่มีดอกเบี้ย  ดังนั้นกรณีตั๋วเงินชนิดมีดอกเบี้ย  เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินจะต้องชำระเงินตามจำนวนเงินหน้าตั๋วและรวมดอกเบี้ยของตั๋วเงิน

                       ดอกเบี้ยตั๋วเงินคำนวณได้ดังนี้

 

ดอกเบี้ยตั๋วเงิน    =    จำนวนเงินหน้าตั๋ว   x   อัตราดอกเบี้ย   x  ระยะเวลาของตั๋ว

 

 

                           วันออกตั๋ว                                                                      วันครบกำหนดชำระเงิน

 

 

 เงินหน้าตั๋ว  10,000                                                            (เงินหน้าตั๋ว  +  ดอกเบี้ย)

                                         ระยะเวลาดอกเบี้ยตั๋วเงิน  (10,000  +  ?   )

                                                                                                           

4.  การคำนวณดอกเบี้ยพ้นกำหนด

 

                        ดอกเบี้ยพ้นกำหนด  หมายถึง  ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ตั๋วครบกำหนดจนถึงวันที่ผู้ออกตั๋วนำเงินมาชำระหนี้ที่ผิดนัด

วันออกตั๋ว

    æ                                           ระยะเวลาพ้นกำหนด            K

                                                           ---------------------------       วันที่ลูกหนี้นำเงินมาชำระ

 

            

                                  วันครบกำหนดชำระเงิน         

                 การคำนวณ

  1. จำนวนเงินตามหน้าตั๋ว
  2. อัตราดอกเบี้ย

            -  ถ้าเป็นตั๋วเงินชนิดมีดอกเบี้ยให้ใช้อัตราดอกเบี้ยตามตั๋ว

-          ถ้าเป็นตั๋วเงินชนิดไม่มีดอกเบี้ยกฎหมายกำหนดให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ  7.5  ต่อปี

  1. ระยะเวลาที่พ้นกำหนด

             ดอกเบี้ยพ้นกำหนด =  จำนวนเงินหน้าตั๋ว  x  อัตราดอกเบี้ย  x  ระยะเวลาพ้นกำหนด

 

   5.  การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน

           

                         ในทางบัญชีตั๋วเงินเป็นเอกสารทางการเงินชนิดหนึ่งและเป็นหลักฐานการเป็นหนี้ที่ดีกว่าลูกหนี้การค้าในบัญชี    เนื่องจากการซื้อขายสินค้าและชำระหนี้จะจ่ายชำระหนี้เงินสดแล้วยังอาจจ่ายชำระเป็นตั๋วเงินได้ด้วย

                        ตั๋วแลกเงิน         Ü          รับตั๋ว     Ü        เรียกว่าตั๋วเงินรับ        Ü       เป็นสินทรัพย์

        ตั๋วเงิน

                       ตั๋วสัญญาใช้เงิน   Ü         ออกตั๋ว   Ü        เรียกว่าตั๋วเงินจ่าย      Ü       เป็นหนี้สิน

 

               ถ้ากิจการรับตั๋วเป็นการชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงิน  หรือตั๋วสัญญาใช้เงิน  จะบันทึกบัญชี  “ตั๋วเงินรับ”  และเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ

 

               ถ้ากิจการออกตั๋ว,  จ่ายตั๋วหรือรับรองตั๋วเพื่อชำระหนี้  ไม่ว่าจะเป็นตั๋วแลกเงิน  หรือ  ตั๋วสัญญาใช้เงิน  จะบันทึกบัญชีเป็น  “บัญชีตั๋วเงินจ่าย”  ซึ่งเป็นบัญชีประเภทหนี้สินหมุนเวียน

 

                        การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน  จำแนกได้  คือ

-          การบันทึกบัญชีตั๋วเงินรับ

-          การบันทึกบัญชีตั๋วเงินจ่าย

 

6.  การบันทึกบัญชีตั๋วเงินรับ

                

               การบันทึกบัญชีจะเกี่ยวข้องกับเรื่องดังนี้

  1. กิจการรับตั๋วเงิน  (ตั๋วแลกเงินหรือสัญญาใช้เงิน)

-          รับจากลูกค้าเป็นค่าสินค้าหรือบริการ

-          รับจากลูกหนี้เป็นการรับชำระหนี้

  1. ถึงวันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋ว
  2. การหาประโยชน์จากตั๋วเงินรับก่อนถึงวันครบกำหนดชำระเงิน
  3. การปรับปรุงบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินรับ
  4. การแสดงรายการตั๋วเงินรับในงบดุล

 

 

                           วันที่ออกตั๋ว                   อายุของตั๋ว                   วันครบกำหนดชำระเงิน

 

  1. รับชำเป็นค่าสินค้าและบริการ                                 1.  กรณีได้รับเงินตามตั๋ว
  2. รับชำระหนี้จากลูกหนี้                                             2.  กรณีได้รับเฉพาะดอกเบี้ย และรับตั๋วเงิน

                                                                                        ฉบับใหม่แทนฉบับเก่า

                                                                                  3.  กรณีไม่ได้รับเงินตามตั๋ว  เรียกว่า

                                                                                      “ตั๋วเงินรับขาดความเชื่อถือ”

6.1    รับตั๋วเงิน

ตั๋วชนิดมีดอกเบี้ย

ตั๋วชนิดไม่มีดอกเบี้ย

ก.พ 1       Dr.  ตั๋วเงินรับ               xxx

                      Cr.  ขายสินค้า/ลูกหนี้            xxx

ก.พ 1  Dr.  ตั๋วเงินรับ               xxx

                     Cr.  ขายสินค้า/ลูกหนี้            xxx

 

6.2    วันครบกำหนดชำระเงิน อาจเกิดขึ้นได้  3  กรณีคือ

ตั๋วชนิดมีดอกเบี้ย

ตั๋วชนิดไม่มีดอกเบี้ย

กรณีได้รับเงินตามตั๋ว

ก.พ 1     Dr.  เงินสด                          xxx

                     Cr.  ตั๋วเงินรับ                     xxx

                           ดอกเบี้ยรับ                   xxx

กรณีได้รับเงินตามตั๋ว

ก.พ 1     Dr.  เงินสด               xxx

                     Cr.  ตั๋วเงินรับ                   xxx

 

กรณีรับตั๋วฉบับใหม่แทนตั๋วฉบับเก่า

เม.ย  2   Dr.   เงินสด                          xxx

                        Cr.  ดอกเบี้ยรับ                    xxx

              Dr.  ตั๋วเงินรับ  (ฉบับใหม่)       xxx

                        Cr.  ตั๋วเงินรับ  (ฉบับเก่า)       xxx

กรณีรับตั๋วฉบับใหม่แทนตั๋วฉบับเก่า

เม.ย  2    Dr.  ตั๋วเงินรับ  (ฉบับใหม่)       xxx

                       Cr.  ตั๋วเงินรับ  (ฉบับเก่า)       xxx

กรณีตั่วเงินรับขาดความเชื่อถือ

เม.ย 2   Dr.  ลูกหนี้                         xxx

                    Cr. ตั๋วเงินรับ                         xxx

                          ดอกเบี้ยรับ                      xxx

                          เงินสด (ค่าใช้จ่าย)           xxx

กรณีตั่วเงินรับขาดความเชื่อถือ

เม.ย 2   Dr.  ลูกหนี้                          xxx

                    Cr. ตั๋วเงินรับ                         xxx

                          เงินสด (ค่าใช้จ่าย)           xxx

ลูกหนี้นำเงินมาชำระพร้อมดอกเบี้ยพ้นกำหนด

เม.ย 8   Dr.   เงินสด                     xxx

                    Cr. ลูกหนี้                           xxx

                         ดอกเบี้ยรับ                     xxx

ลูกหนี้นำเงินมาชำระพร้อมดอกเบี้ยพ้นกำหนด

เม.ย 8   Dr.   เงินสด                     xxx

                    Cr. ลูกหนี้                           xxx

                         ดอกเบี้ยรับ                     xxx

 

6.3    การนำตั๋วเงินรับไปหาประโยชน์ก่อนถึงวันตั๋วครบกำหนดชำระเงิน

 

           รับตั๋วเงิน               วันที่นำตั๋วเงินรับไปหาประโยชน์                วันครบกำหนดชำระเงิน

                                                          ò

Dr.  ตั๋วเงินรับ      xx                    1.  การนำตั๋วเงินรับไปขายลดกับธนาคารหรือเรียกว่า

       Cr.  ขาย/ลูกหนี้     xx                “ตั๋วเงินรับขายลด”

                                                  2.  การโอนตั๋วเงินรับให้บุคคลอื่นโดย

                                                              -  โอนตามมูลค่าหน้าตั๋ว

                                                              -  โอนตามมูลค่าปัจจุบันของตั๋ว

                                                              -  โอนโดยหักส่วนลดจากมูลค่าตั๋วครบกำหนด

                                                              -  โอนโดยกำหนดมูลค่าของตั๋วขึ้นใหม่

 

                   6.3.1 ตั๋วเงินรับขายลด  คือ  การนำตั๋วเงินรับที่ถือไว้เมื่อยังไม่ครบกำหนดชำระเงินไปโอนขายลดให้แก่ธนาคาร  โดยผู้ถือตั๋วจะเซ็นชื่อสลักหลังตั๋วและส่งมอบตั๋วนั้นให้ธนาคาร  เพื่อแลกเอาเงินสดมาโดยผู้ถือตั๋วจะได้รับเงินจากธนาคารตามจำนวนเงินเท่ากับมูลค่าของตั๋วเงินเมื่อครบกำหนดหักด้วยส่วนลด

 

          รับตั๋วเงิน                      วันขายลดธนาคาร                    วันครบกำหนดชำระเงิน

                                                            ò

                ò                                                    ò               ระยะเวลาขายลด                          ò

                                                                                                                       มูลค่าตั๋วครบกำหนด

                                                                                                                  (เงินหน้าตั๋ว + ดอกเบี้ยตั๋ว)

      

             การคำนวณจำนวนเงินที่ได้รับจากตั๋วเงินรับขายลด

 

     

         จำนวนเงินที่ได้รับ          =   มูลค่าตั๋วครบกำหนด         -   ส่วนลดที่ธนาคารหัก

         มูลค่าตั๋วครบกำหนด      =   เงินหน้าตั๋ว + ดอกเบี้ยตั๋ว

          ส่วนลดที่ธนาคารหัก      =   มูลค่าตั๋วครบกำหนด  x   อัตราส่วนลด  x   ระยะเวลาขายลด

 

 

 

 

 

                  การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินรับขายลด

                           จำนวนเงินที่ได้รับจากการขายลดตั๋วเงินรับให้ธนาคาร  อาจจะสูงหรือต่ำกว่าจำนวนเงินหน้าตั๋ว  ถ้าสูงกว่าถือว่าเป็นดอกเบี้ยรับแต่ถ้าต่ำกว่าถือว่าเป็นดอกเบี้ยจ่าย

   วันรับตั๋ว

              ก.ย  1         Dr.  ตั๋วเงินรับ                                      xxx

                                           Cr.  ลูกหนี้ – บริษัทกมลทิพย์                     xxx

 

             

    วันขายลดธนาคาร

              ต.ค 15       Dr.  เงินสด                                        xxx

                                            Cr.  ตั๋วเงินรับขายลด                                xxx

                                                   ดอกเบี้ยรับ                                       xxx

 

   วันครบกำหนดชำระเงินตามตั๋วธนาคารเรียกเก็บเงินได้ครบ

            ต.ค  31     Dr.  ตั๋วเงินรับขายลด                             xxx

                                          Cr.  ตั๋วเงินรับ                                              xxx

                                            

                      กรณีธนาคารแจ้งกิจการว่าเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินไม่ได้หรือเรียกว่า “ตั๋วเงินรับขายลดขาดความเชื่อถือ” กิจการจะต้องจ่ายเงินให้แก่ธนาคารแทน  และบันทึกบัญชีให้ผู้จ่ายเงินตามตั๋วเป็นลูกหนี้ของกิจการตามจำนวนเงินหน้าตั๋วและดอกเบี้ยตั๋ว  (ถ้ามี)  และค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น  เช่น  ค่าแจ้งความทำคำคัดค้าน  ถ้ากรณีนี้ธนาคารได้จ่ายค่าธรรมเนียมการแจ้งความ  การบันทึกบัญชีจะเป็นดังนี้

 

      บันทึกยกเลิกหนี้สินที่เกิดจากตั๋วเงินรับขายลด

            ต.ค  31     Dr.  ตั๋วเงินรับขายลด                                xxx

                                          Cr.  ตั๋วเงินรับ                                              xxx

 

     บันทึกการชำระหนี้ตามตั๋วเงินรับขายลดขาดความเชื่อถือ

                          Dr.  ลูกหนี้  (เงินหน้าตั๋ว + ดอกเบี้ยตั๋ว +ค่าใช้จ่าย)  xxx

                                          Cr.  เงินสด                                                 xxx

 

 

 

               6.3.2  การโอนตั๋วเงินรับให้บุคคลอื่น  หมายถึง  การโอนตั๋วเงินรับที่ถือไว้เมื่อยังไม่ครบกำหนดชำระเงินให้บุคคลอื่นเพื่อเป็นการชำระหนี้แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสด  โดยผู้โอนและผู้รับโอนต้องตกลงกันก่อนว่าจะกำหนดค่าของตั๋วเงินที่โอนเป็นจำนวนเงินเท่าใด  แต่ผู้โอนยังคงรับผิดชอบตั๋วที่โอน  ถ้าตั๋วขาดความเชื่อถือ  สำหรับการโอนนั้นผู้มีสิทธิรับเงินตามตั๋วจะทำการโอนโดยสลักหลังตั๋วให้  ซึ่งมีวิธีการคำนวณมูลค่าของตั๋วเงินที่โอนอยู่  4  วิธี   ดังนี้

 

                 6.3.2.1  การโอนตั๋วเงินรับตามมูลค่าของเงินหน้าตั๋ว  การโอนวิธีนี้มักใช้กับตั๋วเงินชนิดไม่มีดอกเบี้ย

นาย  ก. (ผู้โอน)

นาย  ค. (ผู้รับโอน

 

วันโอนตั๋ว

    พ.ย 1     Dr.  เจ้าหนี้- นาย ข.     xxx

                     Cr.  ตั๋วเงินรับ                     xxx

วันโอนตั๋ว

    พ.ย 1     Dr.  ตั๋วเงินรับ              xxx

                        Cr.  ลูกหนี้-นาย ก.               Xxx

 

 

วันครบกำหนด

      ธ.ค  1     กรณีเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินได้ไม่ต้องบันทึกบัญชี

วันครบกำหนด

      ธ.ค  1    Dr.  เงินสด                 xxx

                       Cr.  ตั๋วเงินรับ                    xxx

 

 

กรณีตั่วเงินรับขาดความเชื่อถือ

       ธ.ค 1   Dr.  ลูกหนี้                 xxx

                          Cr.  เงินสด                     xxx

 

กรณีตั่วเงินรับขาดความเชื่อถือ

     ธ.ค  1  Dr.  เงินสด                          xxx

                       Cr. ตั๋วเงินรับ                       xxx

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.3.2.2   การโอนตั๋วเงินรับตามมูลค่าปัจจุบันของตั๋ว

 

ก.      กรณีโอนตั๋วชนิดมีดอกเบี้ย

           การคำนวณ

 

มูลค่าปัจจุบัน                    =  จำนวนเงินหน้าตั๋ว  +  ดอกเบี้ยของตั๋วถึงวันโอน

ดอกเบี้ยของตั๋วถึงวันโอน    =  จำนวนเงินหน้าตั๋ว  x  อัตราดอกเบี้ย   x  ระยะเวลาถือตั๋ว)

ระยะเวลาถือตั๋ว                 =  วันออกตั๋ว  -  วันโอนตั๋ว

 

นาย  ก. (ผู้โอน)

นาย  ค. (ผู้รับโอน

 

วันโอนตั๋ว

    พ.ย 1     Dr.  เจ้าหนี้- นาย ข.      xxx

                     Cr.  ตั๋วเงินรับ                     xxx

                            ดอกเบี้ยรับ                  xxx

วันโอนตั๋ว

   พ.ย 1    Dr.  ตั๋วเงินรับ                    xxx

                       ดอกเบี้ยรับ (ผลต่าง)    xxx

                        Cr.  ลูกหนี้-นาย ก.               Xxx

**   ผลต่าง   หมายถึง  มูลค่าปัจจุบันของตั๋วที่โอนกับเงินหน้าตั๋ว

วันครบกำหนด

      ธ.ค  1     กรณีเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินได้ไม่ต้องบันทึกบัญชี

วันครบกำหนด

      ธ.ค  1 Dr.  เงินสด (จากนาย ข.)    xxx

                      Cr.  ตั๋วเงินรับ                     xxx

                             ดอกเบี้ยรับ                  xxx

กรณีตั่วเงินรับขาดความเชื่อถือ

       ธ.ค 1   Dr.  ลูกหนี้  (จากนาย ข.)     xxx

                          Cr.  เงินสด                     xxx

 

กรณีตั่วเงินรับขาดความเชื่อถือ

     ธ.ค 1Dr.  เงินสด  (จากนาย ก.)        xxx

                     Cr. ตั๋วเงินรับ                       xxx

                           ดอกเบี้ยรับ                    xxx

 

 

 

 

 

 

 

ข.      กรณีโอนตั๋วชนิดไม่มีดอกเบี้ย

 

การคำนวณ

 

           มูลค่าปัจจุบัน  =   จำนวนเงินหน้าตั๋ว  -  ส่วนลด

           ส่วนลด            =   มูลค่าปัจจุบัน  x  อัตราส่วนลด  x  ระยะเวลาที่ถือตั่วนับแต่วันโอนจนถึงวัน

                 ครบกำหนด  หรือ  (ระยะเวลาคำนวณส่วนลด)

          มูลค่าปัจจุบัน   =  จำนวนเงินหน้าตั๋ว  -  (มูลค่าปัจจุบัน  x  อัตรส่วนลด  x  ระยะเวลาคำนวณส่วนลด)

 

นาย  ก. (ผู้โอน)

นาย  ค. (ผู้รับโอน

 

วันโอนตั๋ว

    พ.ย 1     Dr.  เจ้าหนี้- นาย ค.      xxx

                     Cr.  ตั๋วเงินรับ                     xxx

                            ดอกเบี้ยจ่าย                xxx

วันโอนตั๋ว

   พ.ย 1    Dr.  ตั๋วเงินรับ                    xxx

                        Cr.  ลูกหนี้-นาย ก.               Xxx

                                ดอกเบี้ยรับ                  xxx

วันครบกำหนด

      ธ.ค  1     กรณีเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินได้ไม่ต้องบันทึกบัญชี

วันครบกำหนด

      ธ.ค  1 Dr.  เงินสด (จากนาย ข.)    xxx

                      Cr.  ตั๋วเงินรับ                     xxx

 

กรณีตั่วเงินรับขาดความเชื่อถือ

       ธ.ค 1   Dr.  ลูกหนี้  (จากนาย ข.)     xxx

                          Cr.  เงินสด                     xxx

 

กรณีตั่วเงินรับขาดความเชื่อถือ

     ธ.ค 1Dr.  เงินสด  (จากนาย ก.)        xxx

                     Cr. ตั๋วเงินรับ                       xxx

                         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.3.2.3   การโอนโดยหักส่วนลดจากมูลค่าตั๋วครบกำหนด

       การคำนวณ

จำนวนเงินที่โอน         =  มูลค่าตั๋วครบกำหนด  -   ส่วนลด

มูลค่าตั๋วครบกำหนด   =  จำนวนเงินหน้าตั๋ว  +  ดอกเบี้ยตั๋ว

ส่วนลด                      =  มูลค่าตั๋วครบกำหนด  x  อัตราส่วนลด  x  ระยะเวลาของส่วนลดตั้งแต่

                                     วันโอน  -  วันครบกำหนด)

 

นาย  ก. (ผู้โอน)

นาย  ค. (ผู้รับโอน

 

วันโอนตั๋ว

    พ.ย 1     Dr.  เจ้าหนี้- นาย ค.      xxx

                     Cr.  ตั๋วเงินรับ                     xxx

                            ดอกเบี้ยรับ                  xxx

วันโอนตั๋ว

   พ.ย 1    Dr.  ตั๋วเงินรับ                    xxx

                       ดอกเบี้ยรับ (ผลต่าง)   xxx     

                        Cr.  ลูกหนี้-นาย ก.               Xxx

                               

วันครบกำหนด

      ธ.ค  1     กรณีเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินได้ไม่ต้องบันทึกบัญชี

วันครบกำหนด

      ธ.ค  1 Dr.  เงินสด (จากนาย ข.)    xxx

                      Cr.  ตั๋วเงินรับ                     xxx

                             ดอกเบี้ยรับ                 

KMe : PattayaTech KM© 2019 วิทยาลัยเทคนิคพัทยา 15/17 ม.2 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 โทร 038-221643 โทรสาร 038-221818