หน่วยที่ 2 เงินสด

ใบความรู้หน่วยที่  1  เงินสด และการควบคุมเงินสด

 

  1. 1.      เงินสดในความหมายทั่วไป

                        หมายถึง  เงินตราที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย  เช่น  ธนบัตร  และเหรียญกษาปณ์

 

  1. เงินสดในทางบัญชี  นอกจากธนบัตรและเหรียญกษาปณ์แล้วยังรวมถึงเอกสารทางการเงินด้วย

                        เอกสารทางการเงินที่นับเป็นเงินสด  ประกอบด้วย

-          เช็คที่ยังมิได้นำฝาก

-          ดราฟท์ที่กิจการถืออยู่

-          ธนาณัติที่ยังไม่ได้ขึ้นเงิน

-          เงินฝากธนาคารประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม  เช่น  เงินฝากกระแสรายวัน  เงินฝากออมทรัพย์  และเงินฝากประจำ

             เอกสารทางการเงินที่ไม่นับรวมเป็นเงินสด  ประกอบด้วย

-          อากรแสตมป์  ดวงตราไปรษณีย์

-          เช็คลงวันที่ล่วงหน้า

-          เช็คคืน

-          เงินที่พนักงานยืมทดรองจ่ายล่วงหน้า  ซึ่งมี  I.O.U   เป็นหลักฐาน

-          ตั๋วเงินรับ

-          เงินมัดจำ  และหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด

 

  1. การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินสด  แยกเป็น  2  บัญชีคือ

1.1    บัญชีเงินสด  หมายถึง  เงินสดในมือ  (Cash  on  Hand)

1.2    บัญชีเงินฝากธนาคาร  หมายถึง  เงินสดในธนาคาร  (Cash  at  Bank)

 

เงินสดรับ  ได้จาก

  1. รับเงินลงทุน
  2. รับจากการขาย
  3. รับชำระหนี้จากลูกหนี้
  4. รับจากการกุ้ยืม
  5. รับจากรายได้อื่น  ๆ

 

 

          

               เงินสดจ่าย  ได้แก่

  1. ซื้อสินค้าหรือสินทรัพย์
  2. ชำระหนี้  -  เจ้าหนี้

                                            -  เงินกู้

                        3.  จ่ายเงินปันผล  ,  ส่วนแบ่งกำไร

                        4.  จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง  ๆ

                        5.  จ่ายค่าสินค้าที่รับคืน

 

      4.  การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด

               มูลเหตุที่ต้องควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด

  1. เงินสดเป็นสินทรัพย์ที่อาจทุจริตได้ง่าย
  2. เจ้าของกิจการไม่สามารถควบคุมได้โดยตรง

                     ดังนั้น  การควบคุมภายใน  ถือได้ว่าเป็นการควบคุมโดยระบบ

 

4.1    การควบคุมภายใน  “เงินสดรับ”

4.1.1        พนักงานรักษาเงินสด และพนักงานบัญชีต้องแยกจากกันเพื่อสอบทานกัน

4.1.2        การรับเงินสดทุกครั้ง  ต้องออกใบเสร็จรับเงิน

4.1.3        ใบเสร็จรับเงินต้องมีเลขที่  เล่มที่  และมีสำเนาอย่างน้อยหนึ่งฉบับ

4.1.4        จัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน  เพื่อจดบันทึกการจัดพิมพ์ใบเสร็จรับเงินตามเลขที่................เล่มที่..............และทุกครั้งที่เบิกใบเสร็จรับเงินตามเล่มที่ใดถึงเล่มที่ใด...............................

4.1.5        กำหนดให้บันทึกบัญชีเงินสดรับทุก  ๆ  วัน  และนำฝากธนาคาร

4.1.6        มีการตรวจสอบเงินสดเป็นครั้งคราว  โดยมิต้องบอกล่วงหน้า

 

                   4.2  การควบคุมภายใน  “เงินสดจ่าย”

                                        4.2.1  แยกเจ้าหน้าที่รับเงินสดและจ่ายเงินสดออกจากกัน

                                        4.2.2  จ่ายเงินทุกครั้งจ่ายด้วยเช็ค สำหรับรายจ่ายเล็กๆน้อย ๆจ่ายจากเงินสดย่อย

                                        4.2.3  การใช้เช็คเรียงตามลำดับเลขที่ในสมุดเช็ค  ถ้ายกเลิกให้ขีดฆ่าและเก็บไว้

                                                  เป็นหลักฐาน

4.2.4        จัดทำทะเบียนเช็ค  เพื่อลงรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายเช็ค

 

4.2.5        การลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็ค  ควรมีเจ้าหน้าที่บริหารลงลายมือชื่อร่วมอย่างน้อย  2  คน

4.2.6        ตรวจสอบหลักฐานการจ่ายเงิน  และประทับตรา  “จ่ายเงินแล้ว”  ทุกครั้งบนหลักฐานเมื่อได้จ่ายเงิน

4.2.7        จัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร  และตรวจนับเงินสดเป็นครั้งคราว

 

 

         5.  เงินขาดและเงินเกิน

                  เมื่อสิ้นวันหนึ่ง  ๆ  ถ้าการตรวจนับเงินสดไม่ถูกต้องตรงกันกับยอดรายได้  การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

5.1    กรณีเงินเกิน

 

 

             Dr.      เงินสด                                        xxx

                     Cr.      ขายสินค้า                                           xxx

                                  เงินขาดและเกิน                             xxx

 

5.2    กรณีเงินขาด

 

 

            Dr.       เงินสด                                       xxx

                     เงินขาดและเกิน                          xxx

                      Cr.     ขายสินค้า                                          xxx

                     

 

                ในวันสิ้นงวดบัญชี  บัญชีเงินขาดและเกินจะถูกโอนปิดเข้าบัญชีกำไรขาดทุน  กล่าวคือ  ถ้าบัญชีเงินขาดและเกินมียอดคงเหลือด้านเครดิต  บัญชีนี้จะเป็นบัญชีประเภทรายได้  แต่บัญชีเงินขาดและเกินมียอดคงเหลือด้านเดบิตบัญชีนี้  จะเป็นบัญชีประเภทค่าใช้จ่าย

 

 

 

 

       6.  เงินฝากธนาคาร

                       หน่วยงานธุรกิจโดยทั่วไปมักจะใช้บริการเงินฝากธนาคารโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการใช้และเพื่อผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินฝาก

                        เงินฝากธนาคารมีประเภทต่าง  ๆ  ดังนี้

6.1    เงินฝากกระแสรายวัน  (Current  Account)

-          การนำฝากเงินจะใช้ใบนำฝาก  (Pay-in-Slip)

-          การถอนเงินฝากจะสั่งจ่ายโดยเช็ค

-          ธนาคารจะส่งรายงานเงินฝาก  (Bank  Statement)  ณ  วันสิ้นเดือน  มาให้กิจการ

 

6.2    เงินฝากประเภทออมทรัพย์หรือสะสมทรัพย์  (Saving  Deposit  Account)

-          เป็นเงินฝากที่ไม่กำหนดเวลาในการฝากหรือถอน

-          การฝากและถอนเงินโดยใช้สมุดคู่ฝาก

-          อัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ

 

6.3    เงินฝากประจำ  (Fixed  Deposit  Account)

-          เป็นเงินฝากที่มีกำหนดระยะเวลาในการฝาก  เช่น  3  เดือน  6  เดือน  1  ปี  หรือมากกว่า

-          เป็นการถอนโดยใช้สมุดคู่ฝาก

-          การถอนเงินคืนก่อนกำหนด  อัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้

 

         7.  สมุดเงินสดสองช่อง

                                                             สมุดเงินสด                                       หน้า 1                      

วดป

รายการ

เลขที่

บัญชี

เงินสด

ธนาคาร

วดป.

รายการ

เลขที่

บัญชี

เงินสด

ธนาคาร

 

 

 

 

 

 

 

ยอดยกมา

 

 

 

 

 

 

P

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ยอดยกไป

 

 

 

P

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                       สมุดเงินสดสองช่อง  มีลักษณะคล้ายกับบัญชีแยกประเภท  แต่โดยหน้าที่แล้ว  สมุดเงินสดสองช่อง  ทำหน้าที่ดังนี้

-          เป็นสมุดบันทึกรายการขั้นต้น  คือ  สมุดรายวัน

-          เป็นสมุดบันทึกรายการขั้นปลาย  คือ  เป็นบัญชีแยกประเภท  ทำหน้าที่เป็นบัญชีแยกประเภทเงินสด  และบัญชีแยกประเภทเงินฝากธนาคาร

 

7.1    การบันทึกบัญชี

-          บันทึกรายการที่เกี่ยวกับเงินสดเท่านั้น  ลงในสมุดเงินสดสองช่อง  และไม่นำไปบันทึในสมุดรายวันทั่วไปซ้ำอีก

-          ผ่านรายการ  (Posting)  บัญชีตรงกันข้ามไปบัญชีแยกประเภท  ยกเว้นบัญชีแยกประเภทเงินสดและธนาคาร

-          วันสิ้นเดือน  ปิดสมุดเงินสดสองช่อง  หายอดเงินคงเหลือยกไปเดือนหน้า

-          รายการค้าใดไม่เกี่ยวกับเงินสดให้นำไปบันทึกในสมุดรายวันทั่วไป

                     กิจการขนาดเล็ก  ซึ่งมีจำนวนรายรับ-รายจ่ายเงินสดในมือและในธนาคารไม่มากนัก  ไม่จำเป็นต้องแยกการรับและจ่ายเงินออกจากกัน  (สมุดรายวันรับเงิน  สมุดรายวันจ่ายเงิน  )  จึงมักใช้สมุดเงินสดสองช่อง  เป็นสมุดบันทึกรายการขั้นต้นเกี่ยวกเงินสดเพียงเล่มเดียว

 

 

           8.  การพิสูจน์ยอดเงินสด

                   เมื่อสิ้นวันทำการ  ผู้รักษาเงินสดควรพิสูจน์ยอดเงินสดคงเหลือในมือว่าตรงกับยอดคงเหลือตามบัญชีหรือไม่

                   การคำนวณหายอดคงเหลือตามบัญชีเป็นดังนี้

                   ยอดเงินสดคงเหลือยกมาเมื่อ  1  ต.ค                                     xxx

                   บวก  รายรับทั้งสิ้นตลอดเดือนตุลาคม                                    xxx

                                                                                                              xxx

                   หัก  รายจ่ายทั้งสิ้นตลอดเดือนตุลาคม                                    xxx

                   ยอดเงินสดคงเหลือยกไป  1  พ.ย                                           xxx

                              

                      เมื่อยอดคงเหลือตามบัญชีตรงกับยอดเงินสดที่ตรวจนับได้แสดงว่าถูกต้อง  ถ้าไม่ตรงกันต้องตรวจสอบหาสาเหตุเพื่อแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

 

 

  1. 9.      การพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร

                  สาเหตุที่ต้องพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร  เนื่องจากกิจการธุรกิจที่เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร  จะมีรายการเกี่ยวกับการนำเงินฝากธนาคาร  และถอนเงินโดยสั่งจ่ายเป็นเช็ค  ดังนั้นจึงมีการบันทึกบัญชีทั้งด้านธนาคารและสมุดบัญชีของกิจการ  โดยธนาคารจะส่งรายงาน  (Bank  Statement)

การฝากเงินและการถอนเงิน ทุกวันสิ้นเดือนมาให้กิจการเพื่อตรวจสอบเปรียบเทียบกับสมุดบัญชีของกิจการ  ถ้ายอดเงินฝากธนาคารตามรายงานธนาคารไม่ตรงกับยอดเงินฝากธนาคารคงเหลือตามสมุดบัญชีของกิจการ  กิจการจะต้องค้นหาข้อแตกต่างเพื่อพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารทุกวันสิ้นเดือนต่อไป

 

     ขั้นตอนการทำ

  1. ตรวจสอบยอดเงินฝากธนาคารคงเหลือของแต่ละฝ่ายตามรายงานธนาคาร  และสมุดบัญชีของกิจการ
  2. ถ้ายอดไม่ตรงกันให้หาข้อแตกต่าง  รายการฝาก-ถอน  โดยเปรียบเทียบระหว่างสมุดบัญชีของกิจการกับรายงานของธนาคาร

 

             ข้อแตกต่างที่พบ  มีดังนี้

 

2.1    กิจการบันทึกเพิ่ม/ลด  ยอดบัญชีธนาคารไว้ก่อนแล้ว  ได้แก่รายการ  ดังนี้ 

 

-          เงินฝากระหว่างทาง  หมายถึง  กิจการได้นำเงินฝากธนาคารในวันสิ้นเดือน  และได้บันทึกบัญชีเพิ่มยอดเงินฝากธนาคารแล้ว  แต่ฝ่ายธนาคารยังไม่บันทึกบัญชีให้

 

-          เช็คค้างจ่าย  หมายถึง  กิจการได้สั่งจ่ายเช็คเพื่อซื้อสินค้าหรือชำระหนี้และได้บันทึกบัญชีลดยอดเงินฝากธนาคารแล้วแต่ผู้ถือเช็คยังไม่ได้นำไปขึ้นเงินกับธนาคาร

 

-          กิจการบันทึกบัญชีผิด  จำแนกได้ดังนี้

                    -  กิจการบันทึกบัญชีนำฝากสูงไป

                    -  กิจการบันทึกบัญชีนำฝากต่ำไป

                    -  กิจการบันทึกบัญชีจ่ายเช็คสูงไป

                    -  กิจการบันทึกบัญชีจ่ายเช็คต่ำไป

 

 

 

       2.2  ธนาคารบันทึกเพิ่ม/ลด  ยอดบัญชีธนาคารไว้ก่อนแล้ว  ได้แก่รายการดังนี้

 

   -  ตั๋วเงินรับธนาคารเรียกเก็บเงินให้  หมายถึง  กิจการให้ธนาคารเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินรับของกิจการแทน  เมื่อธนาคารเรียกเก็บเงินได้จะเพิ่มยอดเงินฝากธนาคารของกิจการแต่กิจการยังไม่เพิ่มยอดธนาคาร

 

   -  ดอกเบี้ยรับ  หมายถึง  ธนาคารได้เพิ่มยอดเงินฝากธนาคารเป็นค่าดอกเบี้ยรับของกิจการ  แต่กิจการยังมิได้เพิ่มยอดเงินฝากธนาคาร

 

   -  ค่าธรรมเนียมธนาคาร  หมายถึง  ค่าธรรมเนียมที่ธนาคารคิดเป็นค่าบริการและได้ลดเงินฝากธนาคารของกิจการลงแล้ว แต่กิจการยังมิได้ลงบัญชีลดยอดเงินฝากธนาคาร

 

-  เช็คคืน  หมายถึง  เช็คที่กิจการนำฝากธนาคารและเพิ่มยอดเงินฝากธนาคารไปแล้ว  แต่ธนาคารไม่อาจเรียกเก็บเงินได้จึงคืนเช็คให้กิจการและธนาคารมิได้เพิ่มยอดเงินฝากธนาคารมาให้

 

-          ธนาคารนำเช็คของกิจการอื่นมาหักผิด  หมายถึง  ธนาคารได้นำเช็คของกิจการอื่นมาหักหรือลดยอดบัญชีเงินฝากธนาคารของกิจการ  ทำให้ยอดเงินฝากธนาคาร จึงไม่เท่ากับกิจการ

 

-          ค่าใช้จ่ายต่าง  ๆ  เช่น  ค่าโทรศัพท์  หมายถึง  กิจการได้ตกลงให้ธนาคารหักยอดเงินฝากธนาคารเพื่อเป็นการชำระหนี้ค่าใช้จ่ายของกิจการ  แต่กิจการยังมิได้ลดยอดเงินฝากในสมุดบัญชี

 

              3.  นำข้อแตกต่างไปวิเคราะห์ตามวิธีการพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร  ซึ่งมีอยู่  2  วิธี

                        3.1  การทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารจากฝ่ายหนึ่งไปหาอีกฝ่ายหนึ่ง  เป็นการกระทบยอดเข้าหากัน  อาจทำกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้

                                    3.1.1  ธนาคาร   C  กิจการ  พิสูจน์จากยอดเงินฝากธนาคารตามรายงานธนาคารไปหายอดเงินฝากธนาคารตามบัญชีกิจการ

                                    3.1.2  กิจการ  C   ธนาคาร  พิสูจน์จากยอดเงินฝากธนาคารตามบัญชีของกิจการไปหายอดเงินฝากธนาคารตามรายงานของธนาคาร

 

 

 

      3.1.1   พิสูจน์จากยอดเงินฝากธนาคารตามรายงานธนาคารไปหายอดเงินฝากธนาคารตามบัญชีกิจการ

 

บริษัท.......................................

งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร

วันที่  31  ธันวาคม  25x1

            ยอดเงินฝากธนาคารตามรายงานของธนาคาร                                                         xxx

            บวก    เงินฝากระหว่างทาง                                                         xxx

                       ค่าธรรมเนียมธนาคาร                                                      xxx

                       เช็คคืน                                                                            xxx

                       ธนาคารนำเช็คกิจการอื่นมาหักผิด                                    xxx

                       กิจการบันทึกบัญชีนำฝากสูงไป                                        xxx

                       กิจการบันทึกบัญชีจ่ายเช็คสูงไป                                       xxx

                       ค่าโทรศัพท์  ฯลฯ                                                             xxx                     xxx

                                                                                                                                       xxx

           หัก      เช็คค้างจ่าย                                                                     xxx

                      ตั๋วเงินรับธนาคารเรียกเก็บเงินให้                                       xxx

                      ดอกเบี้ยรับ                                                                      xxx

                      กิจการบันทึกบัญชีนำฝากต่ำไป                                        xxx

                      กิจการบันทึกบัญชีจ่ายเช็คสูงไป                                       xxx                     xxx

             ยอดเงินฝากธนาคารตามบัญชีของกิจการ                                                           xxx    

 

 

          3.1.2  งบพิสูจน์จากยอดเงินฝากธนาคารตามบัญชีของ กิจการไปหายอดเงินฝากธนาคารตามรายงานของธนาคาร          รายการเพิ่ม/ลด  จะตรงกันข้ามกับกรณี  3.1.1  กล่าวคือ  รายการบวกจะเป็นหัก   รายการหักจะเป็นรายการบวก

 

 


 

     

 

 

 

           3.2  การทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง  เป็นการจัดทำเพื่อหายอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง  โดยต้องพิสูจน์ทั้ง  2  ฝ่าย  หาความถูกต้องดังนี้

                         3.2.1   ธนาคาร     C     ยอดที่ถูกต้อง

                                    กิจการ        C    ยอดที่ถูกต้อง

                  หมายถึง  การพิสูจน์ที่เริ่มด้วยยอดเงินฝากธนาคารตามรายงานของธนาคาร  และนำข้อแตกต่าง  ซึ่งธนาคารต้องทำให้ถูกต้องมาเพิ่ม/ลด  จึงจะได้ยอดที่ถูกต้อง  ต่อมาพิสูจน์จากยอดเงินฝากธนาคารตามบัญชีของกิจการและนำข้อแตกต่างซึ่งกิจการต้องทำให้ถูกต้องมาเพิ่ม/ลด  จึงจะได้ยอดที่ถูกต้อง

 

 บริษัท.......................................

งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร

วันที่  31  ธันวาคม  25x1

            ยอดเงินฝากธนาคารตามรายงานของธนาคาร                                                         xxx

            บวก    เงินฝากระหว่างทาง                                                         xxx

                       ธนาคารนำเช็คกิจการอื่นมาหักผิด                                    xxx                     xxx

                                                                                                                                       xxx

             หัก    เช็คค้างจ่าย                                                                                                xxx

              ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง                                                                              xxx

              บวก  ตั๋วเงินรับธนาคารเรียกเก็บเงินให้                                       xxx

                      ดอกเบี้ยรับ                                                                       xxx

                       กิจการบันทึกบัญชีนำฝากต่ำไป                                         xxx

                      กิจการบันทึกบัญชีจ่ายเช็คสูงไป                                        xxx                     xxx

                                                                                                                                       xxx

           หัก      ค่าธรรมเนียมธนาคาร                                                       xxx

                      เช็คคืน                                                                             xxx

                      ดอกเบี้ยรับ                                                                      xxx

                      กิจการบันทึกบัญชีนำฝากสูงไปไป                                     xxx

                      กิจการบันทึกบัญชีจ่ายเช็คต่ำไป                                       xxx                     xxx

             ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง                                                                              xxx    

 

 

 

 

3.2.2        บันทึกรายการปรับปรุงบัญชีในส่วนข้อแตกต่างของกิจการที่ต้องทำให้ถูกต้อง  ดังนี้

Dr.   เงินฝากธนาคาร                                  xxx

                 Cr.       ตั๋วเงินรับ                                               xxx

                           ดอกเบี้ยรับ                                            xxx

                           เงินสด/ลูกหนี้                                         xxx

                           ซื้อ/เจ้าหนี้                                              xxx

  ปรับปรุงบัญชีที่ทำให้ยอดเงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้น

                                                                                                               

 

     Dr.      ค่าธรรมเนียม                                 xxx

              ลูกหนี้                                           xxx

              เงินสด/ลูกหนี้                                  xxx

              ซื้อ/เจ้าหนี้                                      xxx

                            Cr.    เงินฝากธนาคาร                                 xxx

       ปรับปรุงบัญชีที่ทำให้ยอดเงินฝากธนาคารลดลง

 

10. เงินเบิกเกินบัญชี  (Bank  Overdraft)

                 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร  เป็นบริการที่ธนาคารให้ธุรกิจเบิกเงินจากธนาคารได้โดยไม่มีเงินฝากธนาคารคงเหลืออยู่  โดยทำเป็นข้อตกลงระหว่างธนาคารกับกิจการเป็นลักษณะของการกู้เงินจากธนาคาร  โดยกิจการมีหลักทรัพย์มาค้ำประกันวงเงินกู้  แต่ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ต่อเมื่อกิจการเบิกเงินธนาคารซึ่งเบิกโดยการสั่งจ่ายเป็นเช็ค  และเมื่อกิจการนำเงินเข้าฝากการคิดดอกเบี้ยก็จะหยุดลง

 

11.  การทำงบพิสูจน์เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร                                                             

                         ในกรณีที่กิจการมีเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร  (Bank  Overdraft)  ธนาคารจะส่งรายงานธนาคาร (Bank  Statement)  ยอดเงิน  ณ  วันสิ้นเดือนมาให้กิจการเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง  ดังนั้นเมื่อมีกรณียอดเงินตามรายงานธนาคารและตามบัญชีของกิจการไม่ตรงกัน  กิจการจึงต้องจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร

                          สำหรับขั้นตอนการจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารทำได้  2  วิธี  เช่นเดียวกับการพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร  แต่ต่างกันในเรื่องการนำข้อแตกต่างไปวิเคราะห์ตามวิธีการพิสูจน์  จะได้ผลการเพิ่ม/ลด  ตรงกันข้ามกับการพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร

 

  12.  เงินสดย่อย  (Petty  Cash)

                      เงินสดย่อย  คือ  เงินสดที่กิจการมีไว้เพื่อใช้จ่ายเล็ก  ๆ  น้อย ๆ  ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะจ่ายด้วยเช็ค  โดยตั้งผู้รักษาเงินสดย่อยขึ้นมารับผิดชอบการจ่ายเงิน

                      ระบบเงินสดย่อย  มี  2  ระบบ

12.1    ระบบเงินสดย่อยที่มิได้กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอน  (Fluctuating  System)

12.2    ระบบเงินสดย่อยที่กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอน  (Imprest  System)

 

     12.1    ระบบเงินสดย่อยที่มิได้กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอน  (Fluctuating  System)

               ขั้นตอนการบันทึก

  1. 1.      ตั้งวงเงินสดย่อย

             Dr.   เงินสดย่อย                              xxx

                           Cr.    ธนาคาร                                          xxx

              ตั้งวงเงินสดย่อย

 

 

2. เมื่อจ่ายค่าใช้จ่าย

         Dr.   ค่า..........................                   xxx

              ค่า...........................                   xxx

                        Cr.  เงินสดย่อย                                    xxx

จ่ายค่าใช้จ่ายต่าง  ๆ

 

 

    3.  ขอเบิกเงินสดย่อยชดเชย อาจเบิกมากกว่าหรือน้อยกว่าหรือเท่าวงเงินเดิมก็ได้

        Dr.   เงินสดย่อย                               xxx

                       Cr.   ธนาคาร                                        xxx

   เบิกเงินสดย่อยเพิ่มเติม

 

 

 

 

         12.2  ระบบเงินสดย่อยที่กำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอน  (Imprest  System)

               ขั้นตอนการบันทึก

   1.  ตั้งวงเงินสดย่อย

             Dr.   เงินสดย่อย                              xxx

                           Cr.    ธนาคาร                                          xxx

              ตั้งวงเงินสดย่อย

 

                2.  เมื่อจ่ายค่าใช้จ่าย

                           ผู้รักษาเงินสดย่อยจะจดบันทึกไว้ในสมุดเงินสดย่อยและรวบรวมใบสำคัญจ่ายเรียงตามลำดับการจ่ายไว้เพื่อนำไปขอเบิกเงินชดเชยต่อไป

                                                             สมุดเงินสดย่อย                                     หน้า 1                      

วดป

รายการ

เลขที่

บัญชี

จำนวน

เงินสด

ย่อย

รายการจ่าย

บัญชีอื่น ๆ

รายจ่าย

ค่า.....

ค่า.......

ค่า.....

ชื่อบัญชี

เลขที่

บัญชี

จำนวน

เงิน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 <

KMe : PattayaTech KM© 2019 วิทยาลัยเทคนิคพัทยา 15/17 ม.2 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20150 โทร 038-221643 โทรสาร 038-221818